โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการยืดระยะเวลาการสุกงอมของกล้วยหอมทองโดยใช้โปตัสเซียมเปอร์มังกาเนต
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กล้วยหอมทองหรือกล้วยหอมที่สุกแล้ว สีผิวเปลือกเป็นสีเหลืองเป็นผลไม้เศรษฐกิจของไทยที่สำคัญมีการส่งจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่กล้วยหอมเป็นผลไม้ที่สุกงอมเร็วและเน่าเสียง่าย ทำให้มีปัญหาในการขนส่งและจำหน่ายมาก ต้องหาวิธีควบคุมและรักษาสภาพของกล้วยหอมตามลักษณะที่ตลาดต้องการ มีผู้ค้นพบว่าโปตัสเซียมเปอร์มังกาเนตสามารถทำปฏิกิริยากับก๊าซเอทิลิน ประกอบกับเป็นสารที่หาง่าย ราคาถูก และไม่มีอันตราย ผู้ทำโครงงานจึงนำโปตัสเซียมเปอร์มังกาเนต ทำเป็นสารละลาย 0.001 เปอร์เซ็นต์ โดยมวลใช้แช่และล้างกล้วยหอมดิบตัดจากเครือที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดหรือจากสวน โดยที่ยังไม่ได้บ่มแช่และสลับการล้างน้ำสะอาด จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 2, 1 และ 1 นาที ตามลำดับ ทำให้แห้งและเช็ดที่ขั้วหวีตามรอยตัดด้วยสารละลายอิ่มตัวของโปตัสเซียมเปอร์มังกาเนต แล้วนำเก็บไว้ในลังบุด้วยพลาสติกมีสารละลายอิ่มตัวของโปตัสเซียมเปอร์มังกาเนตใส่ภาชนะวางอยู่ ปรากฏว่าวิธีการดังกล่าวสามารถยืดระยะเวลาในการสุกของกล้วยหอมที่ยังไม่ได้บ่มได้ประมาณ 10 วัน และที่บ่มแล้วได้ประมาณ 5 วัน จากระยะเวลาปกติ โดยวัดการสุกของกล้วยหอม จากการดูระดับสีผิวของเปลือกกล้วยหอม วิธีนี้จึงสามารถยืดระยะเวลาในการสุกของกล้วยได้และยังป้องกันการเน่าเสียที่ผิวกล้วยและที่ขั้วหวีได้อีกด้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กอบแก้ว ช่างชุบ
มนีพร ภาดาวัฒน์
สุวรรณา มณีโชติ
อนงนาฎ กาญจนฤกษ์ชัย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วรรณา ธรรมพาเลิศ
วลัยพร ณ บางช้าง
อรุณ นาประเสริฐ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2539 7 (18) p71
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กล้วยหอม
การยืดเวลาสุกของผลไม้
โปตัสเซียมเปอร์มังกาเนต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์