โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ไร้สารพิษ ป้องกันการเจาะทำลายเมล็ดพันธุ์ของด้วงถั่วเหลือง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ด.ญ.พรพิมล ศรีพรโกมลรัตน์
ด.ญ.รัชนี ศักดิ์ชัยปัญญา
สุภาพร สุนิติภานนท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ถั่วเหลืองเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์สารเคลือบ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อปลูกในฤดูกาลต่อไป เกษตรกรต้องประสบกับปัญหา ด้วงถั่วเหลือง (Callosobruchus chinensis L.)ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญมาเจาะกินทำลายเมล็ดพันธุ์ ส่งผลให้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ได้รับความเสียหาย เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการซื้อสารเคมีมากำจัดด้วงถั่วเหลืองและมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากสารเคมีเหล่านั้น จากการสังเกต การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ธัญญาพืชโดยใช้ภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน นิยมนำขี้เถ้ามาคลุกกับเมล็ดพันธุ์ธัญญาพืชเพื่อป้องกันศัตรูมาทำความเสียหายให้กับเมล็ดพันธุ์ คณะผู้จัดทำโครงงานจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อทดสอบนำสารละลายขี้เถ้าผสมสารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสักมาเคลือบเมล็ดพันธุ์ เป็นสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ไร้สารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยทำการทดลอง 3 ตอน ตอนที่ 1 เพื่อศึกษาปริมาณอัตราส่วนความเข้มข้นระหว่างสารละลายขี้เถ้า สารละลายแป้งเปียกและสาร ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองด้วยสารละลายขี้เถ้าผสมกับสารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสัก ในการป้องกันการเจาะทำลายเมล็ดพันธุ์ของด้วงถั่วเหลือง สกัดจากใบสัก ที่เหมาะสมในการเคลือบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ตอนที่ 3 เพื่อศึกษาเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่ผ่านการเคลือบด้วย สารละลายขี้เถ้าผสมกับสารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสักจากการนำสารละลายขี้เถ้า สารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสัก จำนวน อย่างละ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตรมาเคลือบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองจำนวน 100 เมล็ดต่อสูตร ในอัตราส่วนความเข้มข้นที่ต่างกัน 5 สูตร ได้แก่ สูตร 1 สารละลายขี้เถ้า 5 % สารละลายแป้งเปียก 5 % สารสกัดจากใบสัก 5 % สูตร 2 สารละลายขี้เถ้า 5 % สารละลายแป้งเปียก 5 % สารสกัดจากใบสัก 10 % สูตร 3 สารละลายขี้เถ้า 5 % สารละลายแป้งเปียก 10 % สารสกัดจากใบสัก 5 % สูตร 4 สารละลายขี้เถ้า 10 % สารละลายแป้งเปียก 5 % สารสกัดจากใบสัก 5 % สูตร 5 สารละลายขี้เถ้า 10 % สารละลายแป้งเปียก 10 % สารสกัดจากใบสัก 10 % ผลปรากฏว่า สูตร 2 และสูตร 4 มีความเหมาะในการเคลือบเพราะเมล็ดพันธุ์ไม่ทำให้เมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสีจากเดิมเมื่อระยะเวลาผ่านไป 2 เดือน ส่วน สูตร 1 และสูตร 5 เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการเคลือบมีสีเปลี่ยนจากเดิมเล็กน้อยมีสีดำปะปนอยู่บ้าง และสูตรที่เมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสีจากเดิมมากที่สุดมีคือ สูตร 3 ทดลองนำเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เคลือบด้วยสารละลายขี้เถ้า สารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสักในสูตรที่เหมาะสม มาทดสอบการป้องกันการเจาะทำลายเมล็ดพันธุ์ของด้วงถั่วเหลือง โดยนำเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เคลือบด้วยสารละลายขี้เถ้า สารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสักในสูตรที่เหมาะสม เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เคลือบสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองปกติไม่ผ่านการเคลือบ มาทดสอบการป้องกันการเจาะทำลายจากด้วงถั่วเหลือง ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยจำนวนเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เคลือบด้วยสารละลายขี้เถ้า สารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสักในสูตรที่เหมาะสม ถูกด้วงถั่วเหลืองเจาะทำลาย 1 % เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เคลือบสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่ถูกด้วงถั่วเหลืองเจาะทำลายเลย ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0 % ส่วนเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองปกติไม่ผ่านการเคลือบนั้นมีค่าเฉลี่ยของการถูกด้วงถั่วเหลืองเจาะทำลายอยู่ที่ 16 % ทดลองนำเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เคลือบด้วยสารละลายขี้เถ้า สารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสักในสูตรที่เหมาะสมมาทดลองหาเปอร์เซ็นต์การงอก โดยทดสอบระหว่างเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เคลือบด้วยสารละลายขี้เถ้า สารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสักในสูตรที่เหมาะสมกับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองปกติที่ไม่ผ่านการเคลือบ ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เคลือบด้วยสารละลายขี้เถ้า สารละลายแป้งเปียกและสารสกัดจากใบสัก คือ 91.66 % ส่วนเมล็ดพันธุ์ถัวเหลืองปกติที่ไม่ผ่านการเคลือบ มีค่าเฉลี่ยการงอกที่ 89.00 % การทดลองครั้งนี้ เราสามารถที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการลดการใช้สารเคมีที่อันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม