โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการใช้สารสกัดจากใบมะยมตรวจหาฟอร์มาลินในอาหารสด
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการตรวจปริมาณสารฟอร์มาลีนในอาหารสดโดยการใช้สารสกัดจากใบมะยม ทดสอบการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีนจากตัวอย่างอาหารสด คือ กุ้ง ปลาหมึก ปลาทู กะหล่ำปลี ถั่วงอก ผักกาดขาว และถั่วฝักยาว จากการทดลองตอนที่ 1 พบว่าสารสกัดจากใบมะยมแก่ทำปฏิกิริยากับสารละลายฟอร์มาลีนที่ความเข้มข้นต่างๆ ได้ดีกว่าสารสกัดจากใบมะยมอ่อน การทดลองตอนที่ 2 พบว่าเมื่อหยดสารละลายใบมะยมลงในน้ำแช่ตัวอย่างอาหารสดจะให้ผลการทดสอบสอดคล้องกับชุดทดสอบขององค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข การทดลองตอนที่ 3 ศึกษาอัตราส่วนในการสกัดสารจากใบมะยมที่เหมาะสม ทดลองจากอัตราส่วนโดยมวลต่อปริมาตรของใบมะยมและน้ำกลั่น 3:8 3:5 3:3 และ 3:2 จากผลการทดลองพบว่ามีผลการทดสอบแตกต่างกันเล็กน้อย และจากการทดลองตอนที่ 4 พบว่าสารสกัดจากใบของผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ คือ ใบมะม่วง ใบมะขาม และใบชมพู่ ไม่เกิดปฏิกิริยากับสารละลายฟอร์มาลีน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤษณา ธัญอำไพ
จริยา รัชตาธิวัฒน์
ธิติมา นุชพิทักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิไลลักษณ์ กุลวงศ์
สายันต์ นุชอนงค์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคกลาง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์