โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาและปรับปรุงโพลิเมอร์ดูดซึมน้ำเพื่อการเกษตรจากแป้งพืชชนิดต่างๆ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โพลิเมอร์ดูดซึมน้ำเพื่อการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งซึ่งเข้ามามีส่วนช่วยในขั้นตอนการผลิตทางด้านเกษตรกรรมแต่มีราคาสูง จึงได้ปรับปรุงโพลิเมอร์ดูดซึมน้ำชนิดใหม่ขึ้นโดยใช้แป้งพืช 3 ชนิดคือ แป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวโพด นำแป้งแต่ละชนิดผสมกับน้ำสะอาด ในอัตราส่วน 137 ต่อ 600 กวนและต้มที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3ชั่วโมง ทิ้งให้เย็น เติมกรดอะไครลิก 200 ส่วน ปูนขาว 1 ส่วน และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (30%) กวนและต้มที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส นาน 3ชั่วโมง เติมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (30%) 200 ส่วนกวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง เมื่อแห้งสนิทแล้วนั้นนำไปบดจะได้ผงโพลิเมอร์สีขาว ทดลองวัดความสามารถในการกักเก็บน้ำ โดยนำผงโพลิเมอร์ที่ได้จากแป้ง 3 ชนิด แยกใส่ในบีกเกอร์ ชนิดละ 1 บีกเกอร์ จำนวน 10 มิลลิลิตร เติมน้ำลงไปเรื่อยๆครั้งละ 10 มิลลิลิตรจนกว่าโพลิเมอร์จะพองจนไม่สามารถดูดซึมน้ำได้ พบว่าแป้งทั้ง 3 ชนิด สามารถนำมาผลิตเป็นโพลิเมอร์ดูดซึมน้ำได้ แต่โพลิเมอร์จากแป้งข้าวโพดมีประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำสูงสุด รองลงมาคือ โพลิเมอร์จากแป้งข้าวเหนียว และโพลิเมอร์จากแป้งข้าวจ้าว ตามลำดับ นำโพลิเมอร์นี้ผสมกับดินหรือวัสดุปลูกพื่อลดความถี่ในการให้น้ำ และช่วยให้เกษตรกรสามารถประหยัดปุ๋ยและน้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ลีลาวดี ลาวัง
สีวลี ศิลป์วรศาสตร์
อลิซาเบล วิวัฒน์ศรีไพบูลย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธวัช ทะพิงค์แก
นวเรศร์ เขื่อนแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การส่งเสริมการเกษตร
โพลิเมอร์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์