โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทดสอบความทนทานกระเบื้องซีเมนต์จากวัสดุหาง่ายในท้องถิ่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รุจิรารัตน์ โดยคำดี
สุภัทรา ปุญญนิรันดร์
ไอศวรรย์ กำลังผล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระเบื้องซีเมนต์ การทดสอบ
การหมัก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เมื่อนำพืชทั้ง 4 ชนิด คือ กาบกล้วย ใบอ้อย กากมะพร้าวและฟางข้าว มาหมักโดยใช้สูตรเดียวกัน อัตราส่วนเท่ากันคือ น้ำ 3 ส่วน พืช 2 ส่วน ปูนขาว 1 ส่วน เพื่อหาระยะเวลาการหมักพืชแต่ละชนิดและเส้นใย เมื่อเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ ผลปรากฎว่า ใยพืชที่สามารถนำมาทำเป็นกระเบื้องได้มี 3 ประเภทคือ กาบกล้วยใช้ระยะเวลา 2 อาทิตย์ ฟางและกากมะพร้าว ใช้เวลาหมัก 1 อาทิตย์ ส่วนใบอ้อยไม่สามารถนำใยมาได้โดยการหมัก กระเบื้องซีเมนต์จากใยพืชที่ทำได้แต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติต่างกันคือ กระเบื้องที่ทำจากฟางข้าวจะมีคุณสมบัติคือ กันความร้อนได้ดี ติดสีดีสีไม่ลอก กระบื้องที่ทำจากใยกล้วยมีคุณสมบัติคือ ดูดซึมซับน้ำน้อยที่สุดกระเบื้องที่ทำจากใยพืชทุกชนิดมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับกระเบื้องซีเมนต์สำเร็จรูปที่วางขายกันตามตลาด