โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องพฤกษศาสตร์อาหารหนอน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิตยา จิตบรรเทิง

  • สุวิทย์ รักมณี

  • ไพบูลย์ เติมพันธ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วิมล ประจงจิตร

  • สงบ ชัยวิเชียร

  • สรงสรร นาคดิลก

  • สุนทรี มะโนดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ผีเสื้อ

  • พฤกษศาสตร์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ผีเสื้อเป็นแมลงที่มีผู้สนใจศึกษากันอย่างแพร่หลายเนื่องจากผีเสื้อเป็นแมลงที่ปีกมีสีสันสวยงาม และมีส่วนช่วยในการผสมเกสรขยายพันธุ์พืช รักษาสมดุลของระบบนิเวศส่วนใหญ่การศึกษาผีเสื้อจะเน้นการเก็บรวบรวมตัวอย่างผีเสื้อจากพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำไปศึกษาอนุกรมวิธาน สัณฐานวิทยาและพันธุกรรมบางประการ การศึกษาเกี่ยวกับพืชที่เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อสักษณะรูปร่าง ขนาดสีสันของไข่ตัวหนอน ดักแด้ของผีเสื้อชนิดต่างๆเป็นรูปร่างิอย่างชัดเจนนั้นมีน้อย เท่าที่มีอยู่ก็ไม่ได้รับการเผยแพร่ออกสู่สายตาของสาธารณชนมากนักเนื่องจากหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อมีราคาค่อนข้างแพงผู้จัดทำจึงต้องการสำรวจและศึกษาค้นคว้าเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพืชที่เป็นอาหารหนอนผีเสื้อ ลักษณะรูปร่างขนาดสีสันของไข่ตัวหนอน ดักแด้และผีเสื้อชนิดต่างๆเพื่อหาความรู้และเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปพร้อมทั้งเป็นแนวทางในการศึกษาอนุรักษ์ขยายพันธุ์อาหารหนอนและผีเสื้อ โดยไม่ทำลายธรรมชาติเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่น้อยให้ยั่งยืนต่อไป จากการสำรวจ ศึกษาพืชที่เป็นอาหารหนอนผีเสื้อ ภายในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ ตลอดระยะเวลา2 ปีได้ศึกษาพืชที่เป็นอาหารหนอนผีเสื้อ และวงจรชีวิตของผีเสื้อตั้งแต่ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และผีเสื้อตัวเต็มวัย โดยพบว่าส่วนที่เป็นอาหารหนอนผีเสื้อคือ ใบพืชได้ศึกษาพืชที่เป็นอาหารหนอนผีเสื้อทั้งหมด 207ชนิดโดยแยกเป็นพืชล้มลุกไม้เลื้อย ไม้พุ่มและไม้ยืนต้นเมื่อผีเสื้อเพศเมียได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะบินออกหาต้นพืชที่เหมาะสมที่จะเป็นอาหารของตัวหนอนเท่านั้น หนอนผีเสื้อแต่ละชนิดจะกินใบพืชที่ต้องการกินใบพืชต่างชนิดกัน แต่ก็มีหนอนผีเสื้อบางชนิดที่กินพืชชนิดเดียวกัน และหนอนผีเสื้อชนิดเดียวกันกินพืชได้หลายชนิด จากการศึกษาได้พบผีเสื้อที่เป็นสัตว์ป่าคุ่มครองเนื่องจากอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์คือ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา (Goiden Birdwing ; Triodes aea)ใบพืชที่เป็นอาหารหนอนผีเสื้อชนิดนี้ได้แก่ กระเช้าถุงทอง (Aristolochia pothieir) กระเช้าผีมด (Aristolochia tagala)กระเช้าสีดา (Aristochia indica)หูหมี (Thottea)ซึ่งเป็นพืชที่พบมากในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ