โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องปูนแดงกับการป้องกันลูกน้ำยุงลาย
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของวัสดุที่จะนำมาใช้กำจัดลูกน้ำยุงลาย วัสดุที่ใช้ได้แก่ ปูนแดง ดินลูกรัง ดินเหนียว และขี้ผึ้ง โดยใช้ทรายอะเบตเป็นสารเคมีเปรียบเทียบประสิทธิภาพ วิธีการทดลองโดยนำปูนแดงมาปั้นเป็นก้อนกลม 2 ก้อน โดยก้อนหนึ่งนำไปตากแดดให้แห้งแล้วห่อด้วยผ้าขาวบาง ส่วนอีกก้อนไม่นำตากแดด ทำเช่นเดียวกันกับวัสดุอื่นๆ และนำไปหย่อนในน้ำที่มีลูกน้ำยุงลาย แล้วจับเวลาที่ลูกน้ำยุงลายตายทั้งหมดครบทุกตัว จากนั้นทำการศึกษาหาปริมาณที่เหมาะสมในการนำมาใช้ ผลการทดลองพบว่า ปูนแดงมีคุณสมบัติในการกำจัดลูกน้ำยุงลายได้มากที่สุด ส่วนดินลูกรัง ดินเหนียวและขี้ผึ้ง ไม่สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ และปริมาณที่เหมาะสมในการใช้ปูนแดงเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และไม่ทำให้ปลาหางนกยูงตายด้วยคือ ใช้ปูนแดงตากแห้ง 4 กรัมซึ่งจะให้ประสิทธิภาพในการล่าลูกน้ำยุงลายดีกว่าสารเคมีเปรียบเทียบคือ ทรายอะเบต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ขนิษฐา การเก่ง
รัตนา รู้เกณฑ์
อัมพวรรณ รู้เกณฑ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทวี เขื่อนแก้ว
ว่าที่ร้อยตรีวรัญญู เรือนคำ
ไกรสิทธิ์ เปี้ยปลูก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคเหนือตอนบน
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ขี้ผึ้ง
ลูกน้ำ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์