โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องโฟมจากแกนต้นมันสำปะหลัง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการนำเส้นใยธรรมชาติและกระดาษหนังสือพิมพ์มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุแทนโฟม วัสดุที่ใช้ได้แก่ เส้นใยจากแกนต้นมันสำปะหลัง เยื่อกระดาษหนังสือพิมพ์ ผักตบชวา ภาชนะที่ใช้เป็นแบบพิมพ์ วิธีการทดลองโดยทำการฉีกกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เป็นชิ้นเล็กๆ แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำมาผสมกับน้ำสะอาดแล้วนำไปปั่นจนละเอียด กรองเอาเฉพาะเยื่อกระดาษแล้วนำไปฟอกสีด้วยน้ำยาซักผ้าขาว การเตรียมเส้นใยจากแกนมันสำปะหลัง โดยนำไปต้มกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์นาน 20 นาที นำกระดาษหนังสือพิมพ์และผักตบชวาทำเช่นเดียวกันกับมันสำปะหลัง แล้วนำส่วนผสมต่างๆ มาผสมเข้าด้วยกัน หาสัดส่วนที่เหมาะสม ทำการทดสอบคุณสมบัติของโฟมที่ผลิตได้ ผลการทดลองพบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ ใช้แกนต้นมันสำปะหลังต่อเส้นใยต่อน้ำ = 1 กรัม : 5 กรัม : 60 ล.บ.เซนติเมตร ซึ่งวัสดุแทนโฟมกี่ผลิตขึ้นนี้ ถึงแม้จะใช้วัสดุตัวประสานแตกต่างกัน คุณสมบัติที่ได้ก็ต่างกันเพียง คือ วัสดุทีใช้ผักตบชวาเป็นตัวประสานจะมีน้ำหนักเบากว่า และใช้เป็นปุ๋ยเชื้อเพลิงได้ด้วย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จามร เตียเอี่ยมดี

  • ชาญวิทย์ ตรีพรม

  • สิวัช เต็งสุวรรณ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิ่มนวล เต็งสุวรรณ

  • เฉลิมชัย พงษ์พิทักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนอุตรดิตถ์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคเหนือตอนล่าง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • เส้นใยธรรมชาติ

  • โฟม

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์