โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการปรับคุณภาพน้ำทิ้งโดยใช้พืชน้ำ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพืชน้ำที่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้ง โดยพืชน้ำที่ใช้ได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก ผักบุ้ง ผักตบชวา แหนแดง จอก จอกหูหนู วิธีดำเนินการทดลองโดยศึกษาสภาพน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนคลองบางปลาสร้อย ต. บางปลาสร้อย อ.เมือง จ. ชลบุรี จากการตรวจสอบทางด้านเคมีและกายภาพ พบว่า น้ำมีกลิ่นเหม็น สีค่อนข้างคล้ำ ตั้งทิ้งไว้ตกตะกอนไม่เป็นสารคอลลอยด์ มีจุดเดือดสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ค่า pH = 8 อุณหภูมิของน้ำวัดได้ 31 องศาเซลเซียส ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ( DO)มีค่า เท่ากับ 1.37 ซึ่งถือว่าเป็นน้ำเสีย เมื่อนำพืชน้ำแต่ละชนิดลงไปในบ่อน้ำทิ้งแต่ละบ่อเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า สภาพทางกายภาพของน้ำคือ สี กลิ่น และค่า pH ดีขึ้น เมื่อนำน้ำทิ้งมาหาค่า DO ในแต่ละสัปดาห์พบว่าน้ำมีปริมาณออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น และสูงมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 3 และลดลงมาในสัปดาห์ที่ 4 เนื่องจากปริมาณพืชน้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งสรุปได้ว่าพืชน้ำสามารถนำไปใช้ในการปรับคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นได้ ถ้าควบคุมไม่ให้มีปริมาณที่มากเกินไป พืชน้ำที่ให้ผลดีที่สุดในการทดสอบคือ สาหร่ายหางกระรอกและผักบุ้ง รองลงมาได้แก่ ผักตบชวา จอก แหนแดง และจอกหูหนูตามลำดับ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ผุสดี ปุจฉาการ

  • ศิริรักษ์ อัศวประภาส

  • สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิราภรณ์ พลมั่น

  • ชิณพนธ์ พลอยมณีวงศ์

  • ศรีนวล อยู่เป็นสุขดี

  • สุวิทย์ บุญดิเรก

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนชลกันยานุกูล

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • คุณภาพน้ำ

  • พืชน้ำ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์