โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องLogic Game : เกมพัฒนาทักษะทางด้านตรรกศาสตร์และการคิดที่เป็นระบบ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนิดาภา ปรารมภ์

  • ณัลทวัฒน์ มะหา

  • วัชราภรณ์ ชูจิตร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนขาณุวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทกายภาพภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การคิด

  • ตรรกศาสตร์

  • เกม

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีแนวคิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และจากการเล่นเกม Ken Ken ของ เทตซึยะ มิยาโมโตะ ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคิดค้นเกมที่ฝึกฝนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจทางด้านตรรกศาสตร์ ซึ่งไม่น่าเบื่อและสนุกสนาน เกิดความคล่องแคล่วในการหาค่าความจริงของประพจน์ในเรื่อง ตรรกศาสตร์ และนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในห้องเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลอื่น และการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ทำให้เราสร้าง Logic Game ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เกม ได้แก่ 1.) เกม Logic Ken ที่เป็นเกมทางตรรกศาสตร์ที่คล้ายกับเกม Ken Ken แต่ใช้ค่าความจริง “T” และ “F” แทนตัวเลขและใช้ตัวเชื่อมทางตรรกศาสตร์แทน การกระทำของจำนวน ซึ่งได้ออกแบบเกม Logic Ken เป็น 3 รูปแบบ คือ แบบ Normal แบบ Ratio และแบบ X และ 2.) เกม Logic True ซึ่งเป็นเกมทางตรรกศาสตร์ที่ต้องเติมค่าความจริงที่เป็น “T” และค่าความจริงที่เป็นเท็จ “F” ลงในตารางโดยที่ผลลัพธ์ที่เกิดจากตัวเชื่อมประพจน์จะต้องให้ค่าความจริงเป็นจริงเท่านั้น โดยมีการจัดทำเพื่อเป็นการเผยแพร่ไว้ 2 รูปแบบคือ หนังสือเกม Logic Game อัจฉริยะตรรกศาสตร์และเกม Logic Game บนโปรแกรม Microsoft Excel โดยมีผลการสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับสมุดเกม Logic Game อัจฉริยะตรรกศาสตร์และเกม Logic Game บนโปรแกรม Microsoft Excel พบว่าผู้เล่นมีความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมถึง 4.37 และ 4.34 ตามลำดับและ ผลการสอบวัดผลหลังการเล่นเกม Logic Game ผู้เล่นมีผลการทดสอบหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 96.67 และมีค่าเฉลี่ยถึง 18.5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.5 ของคะแนนเต็ม