โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องเหลาก้านมะพร้าว Sharpen coconut leaves machine
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเครื่องเหลาก้านมะพร้าวจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ ประดิษฐ์ ทดสอบประสิทธิภาพและนำไปใช้ในการเหลาก้านมะพร้าวแทนการเหลาแบบเดิม ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และได้ปริมาณก้านมะพร้าวมากกว่าในเวลาเท่ากัน โดยสมาชิกกลุ่มได้ศึกษาการใช้ประโยชน์ของก้านมะพร้าวในการทำผลิตภัณฑ์ ราคาซื้อ-ขาย ก้านมะพร้าวในท้องตลาด จากการศึกษาพบว่าวิธีเหลาก้านมะพร้าวมี 2 วิธี คือ การใช้มีดรูดไปตามแกนใบ และการใช้แกนใบเสียบผ่ากระป๋องเจาะรู ทางกลุ่มจึงคิดสร้างเครื่องเหลาก่นมะพร้าวขึ้น ซึ่งมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ และมีขั้นตอน การประกอบเครื่อง ดังนี้ 1) นำชุดใบมีดมาวางลงบนฐาน วางชุดใบมีดที่จัดเตรียมไว้ 2) นำลูกยางมาใส่บนเพลา 3) นำวงแหวนมาวางบนลูกยางแล้วใช้น๊อตขันเพื่อล็อกให้แน่น 4) ใส่มอเตอร์ลงบนฐานมอเตอร์ ยึดด้วยน๊อต 5) ต่อสายจากมอเตอร์คอยสตาส 1 เส้นแล้วเชื่อมไปต่อกับเบรกเกอร์ ด้วยเส้นเดิม 6) ตาอจากมอเตอร์เข้าคอยสตาส 1 เส้น 7) ต่อจากมอเตอร์เข้าเบรกเกอร์จำนวน 1 เส้น 8) จัดความเรียบร้อยของสายไฟ แล้วปิดเบรกเกอร์ 9) นำเหล็กที่ทำกล่องปิดชุดใบมีด โดยยึดด้วยน๊อต 10) ตัดแผ่นไม้เป็นแผ่นเว้าขนาด กว้าง 18.5 เซนติเมตร ยาว 50.5 เซนติเมตร แล้วเจาะช่องเว้าให้อยู่ตรงเพื่อให้เข้าล็อกกล่องปิดชุดใบมีดขนาด กว้าง 17 เซนติเมตร ยาว 28.5 เซนติเมตร สูง 8 เซนติเมตร 11) นำแผ่นไม้กระดานอัดขนาด กว้าง 44.5 เซนติเมตร ยาว 50.5 เซนติเมตร มาปิดด้านหน้าของตู้รับก้านมะพร้าว 12) นำแผ่นไม้กระดานอัดขนาด กว้าง 50.5 เซนติเมตร ยาว 63 เซนติเมตร ม่าพ่นสีเพื่อทำประตูเปิด-ปิด ทางด้านหลัง ผลการทดลองพบว่าการเหลาก้านมะพร้าวด้วยเครื่องเหลาก้านมะพร้าว การใช้มีด การใช้กระป๋องเจาะรู ในเวลาเท่ากัน คือ 5 นาที เครื่องเหลาก้านมะพร้าวมีประสิทธิภาพในการเหลาก้านมะพร้าวได้ปริมาณมากกว่า เปรียบเทียบคุณภาพของก้านมะพร้าวสดและแห้งที่เหลาโดยเครื่องเหลาก้านมะพร้าว การเหลาด้วยมือโดยใช้มีดและการเหลาด้วยกระป๋องเจาะรู โดยใช้(รูปมะพร้าว)แทนระดับคุณภาพ ใช้วิธีสังเกต ใบที่ติดอยู่ที่ก้านใบมะพร้าวหลังการเหลา ปรากฏว่าเครื่องเหลาก้านมะพร้าว เหลาก้านมะพร้าวแห้งมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ผลจากการหาประสิทธิภาพ เครื่องเหลาก้านมะพร้าว มีประสิทธิภาพในการเหลาก้านมะพร้าวสูงกว่าการเหลาด้วยมือโดยใช้มีด คิดเป็นร้อยละ 91.38 และร้อยละ 163.64 ในกรณีก้านมะพร้าวสด และก้านมะพร้าวแห้ง เรียงตามลำดับ และพบว่าเครื่องเหลาก้านมะพร้าว มีประสิทธิภาพการเหลาสูงกว่าการเหลาด้วยกระป๋องเจาะรู คิดเป็นร้อยละ 58.57 และร้อยละ 130.16 ในกรณีก้านมะพร้าวสด และก้านมะพร้าวแห้ง เรียงตามลำดับ จากผลการทดลองเครื่องเหลาก้านมะพร้าวมีประสิทธิภาพการเหลาสูงกว่าการเหลาด้วยมือโดยใช้มีดและกระป๋องเจาะรูอย่างเห็นได้ชัดเจน และเมื่อเปรียบเทียบการเหลาก้านมะพร้าวสดและแห้งโดยใช้เครื่องเหลาก้านมะพร้าว พบว่าเครื่องเหลาก้านมะพร้าวมีประสิทธิภาพในการเหลาก้านมะพร้าวแห้งได้ดีกว่าก้านมะพร้าวสดคิดเป็นร้อยละ 30.63 ความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน เครื่องเหลาก้านมะพร้าว ใช้เหลาก้านมะพร้าวแห้งเพื่อทำไม้กวาดได้ดี ถ้าต้องการใช้เหลาก้านมะพร้าวสดก็ได้ แต่ต้องมีการเหลาซ้ำด้วยมีดโดยใช้มือ เพื่อให้ได้คุณภาพตามความต้องการ เช่น การนำไปทำเครื่องจักรสาน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิชญา จันทรวงษ์
สุชญา พรหมเทพ
เกรียงศักดิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1ภาคใต้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์