โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องไข่เค็มสูตรใหม่

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การทำไข่เค็มสูตรใหม่มีจุดมุ่งหมายเพื่อย่นระยะเวลาการเค็มของไช่เค็มให้สั้นลง ผลการทดลองพบว่า ดินที่ใช้ทำไข่เค็มอร่อยเร็วที่สุด คือดินปลวก โดยใช้อัตราส่วนผสม ดิน : เกลือ เท่ากับ 1 : 3 และต้องทิ้งส่วนผสมไว้ 3 ชั่วโมง เกลือในดินปลวกจะละลายหมด สารที่ใช้กร่อนเปลือกไข่ที่เหมาะสมที่สุดคือ น้ำส้มสายชูกลั่น 5 % อุณหภูมิที่เหมาะสมจะทำให้ไข่เค็มเร็วดีที่สุดคือ 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสูง การเพิ่มความมันให้ไข่เค็มโดยใช้รำช่วย ผสมในอัตราส่วน ดิน : เกลือ : รำละเอียดคั่ว เท่ากับ 1 : 3 : 1 ไข่จะเป็นมันมากที่สุด หลังจากไข่มีความเค็มได้เหมาะสมตามความต้องการ หยุดความเค็มได้โดยเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 41 องศาเซลเซียสใช้เวลา 24 ชั่วโมง เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับไข่เค็มที่ขายในท้องตลาดพบว่า ไข่เค็มในท้องตลาดซึ่งทอดได้เมื่อครบ 7 วัน มีความเค็มและความมันใกล้เคียงกับไข่เค็มสูตรใหม่ที่ใช้เวลา 3 วัน ส่วนไข่เค็มในท้องตลาดซึ่งต้มได้เมื่อครบ 15 วัน มีความเค็มและความมันใกล้เคียงกับไข่เค็มสูตรใหม่ ซึ่งใช้เวลา 5 และ 7 วัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปรียนันท์ เทพนวล

  • ศิยา อุดมชัชวาล

  • อารักข์ มาฆทาน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ฉลวย จุลเพชร

  • ปิยภรณ์ ธาราทิศ

  • มนตรี คนซื่อ

  • สุปราณี พรหมศร

  • อรุณศรี สอาดดี

  • เพียงเพ็ญ นวลทวี

  • เสาวณีย์ ถาวรเศรษฐ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนไชยาวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 11(32) p

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์