โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องอินดิเคเตอร์ตรวจสอบสารตะกั่วจากใบฝรั่ง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง อินดิเคเตอร์ตรวจสอบสารตะกั่วจากใบฝรั่ง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสารตะกั่วของสารสกัดจาก เปลือกกล้วย ใบชาและใบฝรั่ง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับสารตะกั่วจากส่วนต่างๆของต้นฝรั่ง เพื่อศึกษาหาความเข้มข้นของสารสกัดจากใบฝรั่งที่เหมาะสมในการดูดซับสารตะกั่ว เพื่อศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการดูดซับสารตะกั่วของสารสกัดจากใบฝรั่ง เพื่อผลิตชุดตรวจสอบสารตะกั่วจากน้ำสกัดใบฝรั่ง ซึ่งได้แบ่งการทดลองออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาหาประสิทธิภาพในการดูดซับสารตะกั่วของ ใบฝรั่ง ใบชาและ เปลือกกล้วย โดยนำสารสกัดใบฝรั่ง ใบชาและ เปลือกกล้วยไปทำปฎิกิริยากับสารละลายเลด(II) ไนเตรต วัดปริมาณตะกอนได้ 0.21 ,0.20 และ 0.13 กรัม ตามลำดับ ตอนที่2 ศึกษาหาประสิทธิภาพในการดูดซับสารตะกั่วจาก ใบ ก้าน ผล ของฝรั่ง โดยนำสารสกัดจากใบ ก้าน ผล ของฝรั่ง ไปทำปฎิกิริยากับสารละลายเลด(II)ไนเตรต วัดปริมาณตะกอนได้ 0.20 ,0.16 และ 0.17 กรัม ตามลำดับ ตอนที่3 ศึกษาหาความเข้มข้นของสารสกัดจากใบฝรั่งที่เหมาะสมในการดูดซับสารตะกั่วโดยการเตรียมสารสกัดจากใบฝรั่งที่ความเข้มข้น 5% 10 % 20% 30% โดยมวล/ปริมาตร แล้วทำปฎิกิริยากับสารละลายเลด(II)ไนเตรต วัดปริมาณตะกอนได้ 0.13 0.17 0.21 และ 0.31 กรัมตามลำดับ ตอนที่4 ศึกษาหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการดูดซับสารตะกั่วของสารสกัดจากใบฝรั่ง เมื่อทำปฎิกิริยากับสารละลายเลด(II)ไนเตรต เป็นระยะเวลา 1 3 5และ7 นาที วัดปริมาณตะกอนได้ 0.09, 0.12, 0.21 และ 0.21 กรัม ตามลำดับ ตอนที่ 5 ผลิตชุดตรวจสอบสารตะกั่วจากน้ำสกัดใบฝรั่ง โดยการแปรรูปเป็นกระดาษลิตมัสด้วยการนำกระดาษกรองมาชุบสารสกัดจากใบฝรั่งจากนั้นนำไปอบให้แห้งนำไปจุ่มสารละลายเลด(II)ไนเตรตที่ความเข้มข้นต่างๆ พบว่า ที่ความเข้มข้น 0.500 mol/lสีของกระดาษลิตมัสจะมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ดังนั้นจะเห็นว่าพืชที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับสารตะกั่วคือ ใบฝรั่ง ได้ปริมาณตะกอน 0.21 กรัม ส่วนของต้นฝรั่งที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับสารตะกั่วคือ ใบ ได้ปริมาณตะกอน 0.20 กรัม ความเข้มข้นของสารสกัดจากใบฝรั่งที่เหมาะสมในการดูดซับสารตะกั่ว คือ30% โดยมวลได้ปริมาณตะกอน 0.31 กรัมและระยะเวลา 5นาทีเหมาะสมในการดูดซับสารตะกั่วของน้ำสกัดจากใบฝรั่ง ได้ปริมาณตะกอน0.21 กรัม และกระดาษลิตมัสจากใบฝรั่งสามารถตรวจหาสารตะกั่วได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิรัชยา งามพิมลศรี

  • ปิยาภรณ์ หลักมั่น

  • ศุภณัฐ ศรีวิเศษ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนห้องสอนศึกษา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทย์กายภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • สารตะกั่ว

  • อินดิเคเตอร์

  • ใบฝรั่งการตรวจสอบ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์