โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการลดปริมาณโลหะหนักในน้ำทิ้งด้วยดินเหนียวบดละเอียด

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ "เรื่องการลดปริมาณโลหะหนักในน้ำทิ้งด้วยดินเหนียวบดละเอียด" เป็นการศึกษา 4 ลักษณะคือ ลักษณะที่ 1 เป็นการตรวจสอบหาค่าความเป็นกรดเบสของน้ำทิ้ง ตัวอย่างที่เก็บจากแหล่งต่างๆ พบว่ามีสภาพความเป็นกรดเบสในแต่ละแห่งไม่เท่ากัน และมีค่าอยู่ระหว่าง 5-8 ลักษณะที่ 2 เป็นการตรวจสอบหาปริมาณโลหะหนักที่อยู่ในรูปโลหะอิออนจากแหล่งน้ำทิ้งที่เก็บตัวอย่างมาทดสอบโดยตรวจหาปริมาณ Cu2 +, Mg2 +, Pb2 +, Fe2 +, Fe3 + และ Cr2 O7 2- ซึ่งปรากฏว่าไม่มีโลหะอิออนดังกล่าวในน้ำทิ้งตัวอย่าง ลักษณะที่ 3 เป็นการทดสอบหาปริมาณโลหะหนักในรูปของโลหะอิออนเมื่อผ่านลงบนดินเหนียวบดละเอียดที่เก็บจากแหล่งต่างๆ โดยสร้างน้ำทิ้งสมมติให้มีโลหะอิออนที่ต้องการศึกษาอยู่ด้วย พบว่าสามารถลดปริมาณของโลหะอิออนได้ในแหล่งดินไม่เท่ากันโดยแหล่งที่ 1 (ดินปลวก), แหล่งที่ 3 (ดินในทุ่งนา) และแหล่งที่ 5 (ดินจากโรงงานทำอิฐ) สามารถลดปริมาณโลหะหนักได้มากกว่าแหล่งอื่นๆ เมื่อใช้ดินเหนียวบดละเอียดที่มีความหนา 1 เซนติเมตร เท่ากันทุกการทดลอง ลักษณะที่ 4 เป็นการศึกษาการลดปริมาณโลหะหนักในน้ำทิ้งสมมติ ด้วยดินเหนียวบดละเอียด 2 เซนติเมตร พบว่าสามารถลดปริมาณของโลหะหนักที่อยู่ในรูปของโลหะอิออนได้มากกว่าการทดลองในลักษณะที่ 3 ซึ่งการศึกษานี้เป็นวิธีการเบื้องต้นในการบำบัดน้ำเสียที่มีโลหะหนักอยู่ในน้ำทิ้งเพื่อลดความเป็นมลพิษของน้ำให้น้อยลงก่อนทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นพวรรณ พงศ์โสภา

  • นิตยา สุเมธากุลวัฒน์

  • ภาวินี ด้วงเงิน

  • วรางคณา วิเศษมณี

  • สุภัทรา อดุลรัตนานุวัตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • นิพนธ์ คลล้ำ

  • ปะฐม จุลเด็น

  • สุนทร มณีเนียม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์ธานี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2537 5 (14) p83

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ดินเหนียว

  • น้ำเสีย

  • โลหะหนัก

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์