โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องอินดิเคเตอร์จากราก ลำต้น ใบ ดอกของพืชในท้องถิ่นและการประยุกต์ไปสู่ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ดวงจันทร์ เที่ยงตรง
ลำพู จันทร์ท่าอิฐ
สุชิรา การดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทวี เขื่อนแก้ว
วรัญญู เรือนคำ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(21) p69
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์
อินดิเคเตอร์ จากพืช
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ต063/2538 ผู้จัดทำโครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าพืชในท้องถิ่นและส่วนใดของพืชที่สามารถให้สารที่เป็นอินดิเคเตอร์ได้ ตลอดจนศึกษาชนิดของสารละลายที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการสกัดสีจากส่วนต่าง ๆ ของพืช ตลอดจนประยุกต์อินดิเคเตอร์ที่ได้จากพืชไปสู่การทำยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ได้ ผู้ทำโครงงานจึงได้ศึกษาหาอินดิเคเตอร์จากราก ลำต้น ใบ ดอกของพืชในท้องถิ่นจำนวน 19 ชนิด จากรากคือ รากขนุน จากลำต้น คือ ขมิ้น ไพล และข่า จากใบคือ ใบเตย จากดอกคือ ดอกอัญชัญ ดอกฟอร์เกตมีนอต ดอกกระดาษ ดอกพุทธรักษาสีแดง ดอกบานบุรี ดอกพุทธรักษาสีส้ม ดอกบานชื่นสีชมพู ดอกบานชื่นสีแดง ดอกดาวกระจาย ดอกฟ้าประดิษฐ์ จากกลีบดอกคือดอกกุหลาบ ดอกชบาหนู ดอกพุทธรักษาสีเหลืองและดอกเฟื่องฟ้า นำส่วนต่าง ๆ ของพืชมาบดหรือหั่นให้ละเอียด นำไปชั่ง 10 กรัม แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกนำไปสกัดด้วยน้ำ ส่วนที่สองนำไปสกัดด้วยสารละลายเอธานอล 95 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สารที่สกัด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร จากการศึกษาพบว่าอินดิเคเตอร์ที่ได้ คือ กลีบดอกกุหลาบ กลีบดอกชบาหนู กลีบดอกเฟื่องฟ้า ดอกอัญชัญ ดอกพุทธรักษาสีแดง และลำต้นขมิ้น ทั้งในรูปของสารละลายและกระดาษ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงสีอย่างชัดเจนเมื่ออยู่ในสภาพที่เป็นกรด กลางและเบส จากนั้นนำกระดาษอินดิเคเตอร์มาประยุกต์เป็นยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ ในค่าความเป็นกรด ค่าความเป็นเบส คือ 1,3,5,7,9,10,12 และ 14 มีการเปลี่ยนแปลงสีอย่างชัดเจนในแต่ละค่าพีเอช คือ กลีบดอกกุหลาบและดอกอัญชัญ จากการสกัดได้ทั้งน้ำและเอธานอล ส่วนกลีบดอกชบาหนูและดอกพุทธรักษาสกัดจากเอธานอลเท่านั้น การเตรียมอินดิเคเตอร์และยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์นี้ เป็นการเตรียมที่สามารถทำขึ้นใช้เองในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อใช้ในการศึกษาความเป็นกรด ความเป็นเบสของสารในชีวิตประจำวันได้ต่อไป