โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเส้นใยไร้เทียมทาน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การทดลองนี้มุ่งศึกษาคุณภาพของเส้นใยธรรมชาติจากพืชบางชนิด ได้แก่ ป่านพื้นเมือง ป่านมะนิลา ปอกระเจาะ เปรียบเทียบกับเส้นใยที่ใช้โดยทั่วไปได้แก่ ด้าย เชือกฟาง(พลาสติก) เชือกไนล่อน ซึ่งเส้นใยสังเคราะห์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดมลภาวะทั้งขั้นตอนการผลิตและเศษวัสดุเหลือใช้ต่อสิ่งแวดล้อม ในการทดลองครั้งนี้ทำการศึกษาคุณภาพของเส้นใย 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก ทำการศึกษาความสามารถในการต้านทานต่อแรงดึง การทดลองจะจัดสภาวะของเส้นใยเพื่อศึกษาคุณภาพ 4 ลักษณะคือ สภาวะปกติ, แช่น้ำเดือด 20 นาที, แช่สารละลายกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น 1 mol/dm3 12 ชั่วโมง, แช่สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 1 mol/dm 3 12 ชั่วโมง แล้วนำมาทดสอบคุณภาพความสามารถในการต้านทานต่อแรงดึง ประเด็นที่สอง ทำการศึกษาความทนทานต่อการเสียดสีของเส้นใยสภาวะปกติ จากการทดลองพบว่า เส้นใยจากป่านพื้นเมือง มีคุณภาพดีกว่าเส้นใยที่ได้จาก ป่านมะนิลา ปอกระเจา เชือกฟาง(พลาสติก)และด้าย ทุกสภาวะที่ทำการทดลอง แต่คุณภาพของป่านพื้นเมืองมีคุณภาพเป็นร้อยละ 90 ของเชือกไนล่อน จากการทดลองทำให้เกิดแนวคิดคือ ควรมีการพัฒนาเส้นใยจากป่านพื้นเมืองขึ้นมาใช้ทดแทนเส้นใยจากพลาสติกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาวะแวดล้อม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กิตติชนม์ กองสิงห์
ทวนศักดิ์ แผ่นทอง
อนันตพล อาวามี
เถกิงเดช พรหมซาว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทวี สีวิจี๋
ปรีชา ตั้งมาลา
ไพรวัลย์ จันทราศรี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 การเกษตร ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(10) p81
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
เส้นใยธรรมชาติ ศึกษาคุณภาพ
เส้นใยสังเคราะห์ ศึกษาคุณภาพ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์