โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถุงเพาะชำย่อยสลาย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กรรณิการ์ แซ่จิว

  • จิรา คิดซื่อ

  • วิหค พวงทอง

  • อรวรรณ กลิ่นหอม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประเมิล อินทพิบูลย์

  • สุวัฒน์ คล่องดี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสิงห์บุรี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออก

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2539 7(20) p76

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

คณะผู้ทำโครงงานได้ร่วมกันศึกษาการนำกระดาษที่เหลือใช้มาผลิตและดัดแปลงเป็นถุงเพาะชำย่อยสลายขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดของกระดาษที่เหมาะสมกับวันเวลาที่พืชจะเจริญเติบโต โดยได้นำกระดาษแต่ละชนิดมาพับเป็นถุงเพาะชำ แล้วนำมาชุบยางตะโกโดยใช้กระดาษ 4 ชนิดคือ กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษโรเนียว กระดาษถุงปูน และกระดาษสร้างแบบ(ปรู๊ฟ) เมื่อชุบยางตะโกแล้ว นำมาทดลองปลูกต้นไม้ พบว่ากระดาษที่เหมาะสมที่สุดที่ทนยุ่ยได้นานกว่าคือ ถุงเพาะชำจากกระดาษถุงปูน รองลงมาคือ ถุงเพาะชำจากกระดาษโรเนียว ถุงเพาะชำจากกระดาษหนังสือพิมพ์ ถุงเพาะชำจากกระดาษสร้างแบบ ตามลำดับ ถุงเพาะชำจากกระดาษถุงปูนจึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งยังหาได้ง่าย ราคาถูกและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วย