โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำน้ำปลาโดยใช้ยางมะละกอช่วยในการย่อยสลาย

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการที่เคยเห็นแม่ครัวนำยางของมะละกอมาหมักกับเนื้อสัตว์ปรากฏว่า เนื้อสัตว์นั้นเปื่อยง่ายและนุ่ม เมื่อนำมาประกอบอาหาร ดังนั้นจึงสงสัยว่ายางมะละกอมีสารอะไรจึงสามารถทำให้เนื้อนั้นเปื่อยยุ่ย และยางมะละกอสามารถช่วยย่นระยะเวลาในการหมักน้ำปลาได้ จากการศึกษาคุณภาพของยางมะละกอที่ช่วยในการย่อยสลาย ทราบถึงกรรมวิธีในการหมักน้ำปลา ศึกษาคุณภาพของน้ำปลาที่ใช้ยางมะละกอช่วยในการหมัก ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นก็นำขวดโหลที่มีฝาปิดมิดชิด ตะแกรงไม้ ที่กรอง ปลาทู เกลือ น้ำตาล เมื่อเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างแล้วก็ให้นำปลาทูที่ล้างสะอาดไปคลุกเคล้ากับเกลือที่เตรียมไว้แล้ว แบ่งออกเป็น 7 ส่วนในปริมาณที่เท่ากันแล้วนำไปใส่ขวดที่เตรียมไว้เมื่อครบกำหนดก็นำน้ำปลามาเปรียบเทียบกันว่าขวดใดมีการย่อยสลายมากที่สุด นำน้ำปลาแต่ละขวดมาแยกต้มโดยในแต่ละขวดให้เติมน้ำตาลลงไป แล้วนำมากรองให้เหลือแต่น้ำปลาที่ใสบริสุทธิ์มีสีน้ำตาลแดง น้ำปลาที่หมักไว้นั้นจะมีการย่อยสลายได้เพียง 6 ขวด ส่วนอีกขวดนั้นยังย่อยสลายได้ไม่หมดจากการย่อยสลายปลาระหว่างการหมักปลากับเกลือกับการหมักโดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของมะละกอลงไป ผสมกับปลากับเกลือจะพบการผสมยางมะละกอดิบและยางของต้นมะละกอดิบลงไปทำให้ปลาย่อยสลายได้หมด ดังนั้นการใช้ยางมะละกอผสมกับปลาและเกลือสามารถช่วยร่นระยะในการหมักน้ำปลาได้ดีกว่าการหมักกับเกลือธรรมดา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กนกวรรณ เลิศศิริสาคร และคณะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ประพานรัตน ตันกุล

  • สุชาติ สังวรกาญจน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย การเกษตร ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2538 6(16) p74

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์