โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวิธีการเพาะเมล็ดมะม่วงแก้วเพื่อให้ได้จำนวนต้นต่อเมล็ดสูงและมีคุณภาพดี
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในการเพาะเมล็ดมะม่วงแก้วโดยนำเมล็ดมะม่วงแก้วมาเพาะในวัสดุ ดินผสมทราย ดินผสมขุยมะพร้าว ดินผสมถ่านแกลบและดินผสมฟางข้าวแห้งอัตราส่วน 1:1 จากการทดลองพบว่าในดินผสมทรายมีอัตราการงอกร้อยละ 43 ดินผสมขุยมะพร้าวมีอัตราส่วนการงอกร้อยละ 63 ดินผสมถ่านแกลบมีอัตราการงอกร้อยละ 53 ดินผสมฟางข้าวมีอัตราการงอกร้อยละ 50 จากการทดลองสรุปได้ว่าเมล็ดมะม่วงแก้วงอกได้ดีในดินผสมขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 1:1 เมื่อนำดินผสมขุยมะพร้าวไปทดลองเพาะเมล็ดมะม่วงแก้วที่ตัดส่วนหัวและส่วนท้ายออก เมล็ดที่แกะเปลือกออกและเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มเมล็ด เพื่อศึกษาเวลาในการงอกและจำนวนต้นต่อเมล็ด จากการทดลองพบว่า การตัดส่วนหัวและส่วนท้ายของเปลือกหุ้มเมล็ดออกทำให้เมล็ดงอกในเวลาเฉลี่ย 22 วัน การแกะเปลือกหุ้มเมล็ดออกเมล็ดจะงอกในเวลา 17.4 วัน เมล็ดที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดจะงอกในเวลา 30 วัน จำนวนต้นที่งอกต่อเมล็ด การตัดส่วนหัวและส่วนปลายของเมล็ดออกได้จำนวนต้นเฉลี่ย 1.6 ต้นต่อเมล็ด แกะเปลือกหุ้มเมล็ดออกได้จำนวนต้นเฉลี่ย 3.4 ต้น เมล็ดที่มีเปลือกหุ้มได้จำนวนต้นเฉลี่ย 0.5 ต้นต่อเมตร ในการทดลองโดยเอาเมล็ดที่แกะเปลือกออกไปเพาะในขุยมะพร้าวผสมดินในอัตราส่วน 1:1 โดยวางเมล็ดในลักษณะต่าง ๆ การวางเมล็ดให้ส่วนหัวตั้งขึ้น วางเมล็ดเอาด้านแบนลง วางเมล็ดโดยเอาด้านอกลง วางเมล็ดโดยเอาด้านอกขึ้น จากการทดลองพบว่าการวางเมล็ดโดยเอาส่วนหัวตั้งขึ้นได้จำนวนต้นเฉลี่ย 3.4 ต้นต่อเมล็ด วางเมล็ดโดยเอาด้านแบนลงได้จำนวนต้นเฉลี่ย 3.5 ต้นต่อเมล็ด การวางเมล็ดโดยเอาด้านอกลงได้จำนวนต้นเฉลี่ย 3.4 ต้นต่อเมล็ด การวางเมล็ดโดยเอาด้านอกขึ้นได้จำนวนต้นเฉลี่ย 3.4 ต้นต่อเมล็ด ลักษณะของต้นและรากในการวางเมล็ดโดยเอาส่วนหัวตั้งขึ้น จะได้ลำต้นและรากที่มีลักษณะโค้งงอกเป็นส่วนมาก การวางเมล็ดโดยเอาด้านแบนลงจะได้ต้นที่มีลำต้นและรากที่ตรงเหมาะที่จะใช้ในการขยายพันธุ์ การวางเมล็ดโดยเอาด้านอกลงจะได้ต้นที่มีลำต้นและรากที่ตรงเหมาะที่ใช้ในการขยายพันธุ์ การวางเมล็ดโดยเอาด้านอกขึ้นจะได้ต้นที่มีลำต้นและรากโค้งงอไม่เหมาะในการใช้ขยายพันธุ์ จากการทดลองสรุปได้ว่า ลักษณะการวางเมล็ดไม่มีผลต่อจำนวนต้นต่อเมล็ด แต่มีผลต่อลักษณะของลำต้นและราก การวางเอาด้านอกลงและการวางโดยเอาด้านแบนลงจะได้ต้นตอที่มีลักษณะดีเหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์มะม่วง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กนกวรรณ สร้อยทอง
ดวงตา ดีรักษ์
วรนุช ทับทิมแสง
เนาวรัตน์ ถนอมสิงห์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 การเกษตร ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2536 4(11) p68
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์