โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเพิ่มออกซิเจนในตู้ปลาด้วยถ่านไม้ขณะไฟดับ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาเรื่องการเพิ่มออกซิเจนในตู้ปลาด้วยถ้านไม้ขณะไฟดับ ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ถ่านไม้ ผลการทดลองพบว่าฟองอากาศที่ออกมาจากถ่านไม้นั้นคือ ก๊าซออกซิเจน โดยจากการวัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายในตู้ที่มีถ่านไม่นั้น พบว่ามีปริมาณออกซิเจนมากกว่าตู้ที่มีแต่น้ำ ประมาณ 3 mg/l และจากการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของถ่านไม้ที่มีผลต่อคุณภาพน้ำในตู้ปลา โดยศึกษาถ่านไม้ 3 ชนิดคือ ต้นส้ม ต้นลำไย และไม้ไผ่ พบว่าไม้ไผ่ให้ปริมาณออกซิเจนน้ำได้ดีที่สุด รองลงมาคือไม้ลำไย และไม้ส้ม ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณของถ่านไม้ที่มีผลต่อปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำในตู้เลี้ยงปลา โดยปริมาณไม้ไผ่ดังนี้ 100 กรัม 200กรัม และ300 กรัม พบว่าถ่านไม้ 300 กรัม ให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำได้มากที่สุด เมื่อทำการทดลองนำปลามาเลี้ยงจริงในตู้ที่นำถ่านไม้มาใส่นั้น พบว่าปลาอยู่ได้จริงโดยไม่ต้องใช้เครื่องพ่นออกซิเจนเป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พิมพ์มาดา เจริญศิลป์

  • สุพิชชา สายคำอ้าย

  • ไพลิน บุณรสิริ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวชิรวิทย์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ก๊าซออกซิเจนการผลิต

  • ถ่านไม้

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์