โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสารกรองโลหะในน้ำบาดาลจากเปลือกกาแฟ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำบาดาลบนดอยแม่สลองมีโลหะหลายชนิดเจือปนอยู่ เช่น เหล็ก แมงกานีส แคลเซียม แมกนีเซียม ทองแดง และสังกะสี เป็นต้น โลหะเหล่านี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของชาวบ้าน โครงงานนี้แบ่งการทดลองเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 สกัดสารโพลีฟีนอลจากเปลือกกาแฟสด โดยใช้ตัวทำละลายที่มีขั้ว ได้แก่ น้ำ เมทานอล เอทานอล และอะซีโตน และวิเคราะห์หาปริมาณสารโฟลีฟีนอลทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocalteu reagent ตอนที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะของสารสกัดหยาบจากเปลือกกาแฟสด ได้แก่ อัตราส่วนโดยมวลระหว่างสารโพลีฟีนอลต่อโลหะ ระยะเวลาในการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดหยาบกับโลหะ และค่า pH ของน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพน้ำบาดาลก่อนและหลังเติมสารสกัดหยาบ ตอนที่ 3 เปรียบเทียบปริมาณโลหะในน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองด้วยสารสกัดหยาบจากเปลือกกาแฟสดและเรซิ่น และตอนที่ 4 ศึกษาผลของความเข้มข้นของสารสกัดหยาบจากเปลือกกาแฟสดที่มีต่อร้อยละการตายของลูกปลานิลภายในเวลา 24 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า ตัวทำละลายที่สามารถสกัดสารโพลีฟีนอลได้มากที่สุด คือ อะซีโตน รองลงมา คือ เอทานอล เมทานอล และน้ำ ตามลำดับ และยังพบว่าอัตราส่วนโดยมวลของสารสกัดหยาบต่อโลหะเท่ากับ 3 : 1 สามารถกำจัดโลหะได้มากกว่าอัตราส่วนอื่น ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดหยาบกับโลหะ คือ 3 วัน เพราะระยะเวลานี้ส่งผลให้สารสกัดหยาบสามารถกำจัดโลหะทั้งหมดในน้ำบาดาลสูงสุด ค่า pH ที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดหยาบกับโลหะ คือ 7.0 เพราะจะส่งผลให้สารสกัดหยาบมีประสิทธิภาพในการกำจัดโลหะสูงสุด จากการวิเคราะห์คุณภาพตัวอย่างน้ำบาดาลหลังเติมสารสกัดหยาบจากเปลือกกาแฟสด พบว่า ค่าความขุ่น ค่า pH ค่าการนำไฟฟ้า ค่าความกระด้างของน้ำ ค่า TDS ปริมาณโลหะเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค และจากการเปรียบเทียบคุณภาพน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองด้วยสารสกัดหยาบจากเปลือกกาแฟสดและเรซิ่น พบว่า น้ำบาดาลที่ผ่านการกรองด้วยสารสกัดหยาบจากเปลือกกาแฟสด มีค่าความขุ่น ค่า pH ค่าการนำไฟฟ้า ค่าความกระด้างของน้ำ ค่า TDS ปริมาณโลหะเหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค แต่น้ำบาดาลที่ผ่านการกรองด้วยเรซิ่นยังมีปริมาณทองแดง และแมงกานีสเกินมาตรฐานน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค ตลอดจนพบว่าสารโพลีฟีนอลที่มีความเข้มข้น 1281.45 mg/l ทำให้ลูกปลานิลตายไปครึ่งหนึ่ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะฉัตร แซ่ย่าง
ภูมินทร์ เยซอกู่
หมี่เพาะ แซพะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กีรติ ทะเย็น
ชลฌินีมาศ อาบสุวรรณ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญเงิน ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
น้ำบาดาล
สารกรองโลหะ
เปลือกกาแฟ สารกรอง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์