โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของหญ้าแฝกในการกำจัดปลวก

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของหญ้าแฝกในการกำจัดปลวก ปัญหาที่สำคัญของการปลูกสร้างบ้านเรือนและการดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์หลายชนิด โดยเฉพาะวัสดุที่ทำจากกระดาษคือ การทำลายจากปลวก ซึ่งการกำจัดปลวกนั้นโดยทั่วไปจะใช้สารเคมี ซึ่งสารเคมีที่ใช้กำจัดปลวกนั้นเป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การใช้ต้องมีความระมัดระวัง ส่วนใหญ่จึงจ้างบริษัทให้มากำจัดปลวกซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาที่ค่อนข้างสูง จากการสังเกตพบว่าในบริเวณที่มีหญ้าแฝกขึ้นในท้องถิ่น จะไม่มีปลวกขึ้นในบริเวณนั้นและจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลพบว่าเคยมีผู้วิจัยเกี่ยวกับการนำน้ำมันหญ้าแฝกมากำจัดปลวก จึงได้ศึกษาทดลอง โดยได้แบ่งการทดลองเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบผลของสิ่งต่างๆของหญ้าแฝกที่มีต่อปลวกเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีโดยการฉีดพ่นพบว่าการใช้สารเคมีทำให้ปลวกตาย 100 % รองลงมาคือ ส่วนของรากทำให้ปลวกตาย 100 % ส่วนของทุกส่วนทำให้ปลวกตาย 83.33 % ส่วนของลำต้นทำให้ปลวกตาย 66.66 % และสุดท้ายคือส่วนของใบทำให้ปลวกตาย 46.66 % ตามลำดับ ตอนที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบผลของส่วนต่างๆ ของหญ้าแฝกที่มีต่อปลวกเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีโดยการนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาชุบสารละลายที่ได้จากส่วนต่างๆของหญ้าแฝกแล้วให้ปลวกกิน หลังจากนั้นดูผลภายใน 2 วัน พบว่าการใช้สารเคมีทำให้ปลวกตาย 100 % ในเวลา 1 วัน และส่วนของรากทำให้ปลวกตาย 100 % ในเวลา 2 วัน รองลงมาคือส่วนของทุกส่วนทำให้ปลวกตาย 76.66 % ส่วนของลำต้นทำให้ปลวกตาย 60 % และสุดท้ายคือส่วนของใบทำให้ปลวกตาย 50 % ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าส่วนของรากมีผลในการกำจัดปลวกมากที่สุด ตอนที่ 3 ศึกษาเปรียบเทียบการกำจัดปลวกของสารสกัดจากรากที่ได้จากราก 20 กรัมต่อน้ำ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตรกับน้ำมันแฝกโดยการนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาชุบสารละลายที่ได้ราก 20 กรัมต่อน้ำ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร กับน้ำมันแฝกแล้วให้ปลวกกิน หลังจากนั้นดูผล พบว่าน้ำมันแฝกให้ผลในการกำจัดปลวก 100 % ในเวลา 1 วัน ส่วนสารสกัดที่ได้จากราก 20 กรัมต่อน้ำ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตรให้ผลในการกำจัดปลวก 100 % ในเวลา 2 วัน ตอนที่ 4 ศึกษาการนำสารสกัดที่ได้จากรากแฝกไปผสมในการทำกระดาษพบว่า กระดาษที่ทำขึ้นปลวกไม่ทำลาย ส่วนกระดาษที่ไม่ผสมสารสกัดรากแฝกปลวกทำลายและเมื่อนำสารสกัดที่ได้จากรากไปผสมกับขี้เลื่อย ดิน และกาวแล้ว นำไปอัดเป็นก้อนและนำไปทดสอบโดยการฝังลงไปในบริเวณที่มีปลวกพบว่าปลวกไม่ทำลาย ซึ่งจากผลการศึกษานี้เราสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิราภรณ์ ปินทะนา

  • ทัศนีวรรณ์ อินเหลือละ

  • อุบลรัตน์ โปธา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การกำจัดปลวก

  • หญ้าแฝกการศึกษา

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์