โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลิตภัณฑ์กระดาษผสมวัชพืช
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทร์จิรา อินทราธิราช
จิรัชญา ลอยมี
มนัส แสนงาม
อดุลยฤทธิ์ กันทา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) 82
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษ
วัชพืช ประโยชน์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป254/2539 ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษมีราคาแพง ต้องการผลิตกระดาษจากวัชพืชในท้องถิ่นผสมกระดาษเก่าในโรงเรียนที่มีมากมาย ทำให้ลดปริมาณวัชพืช ลดขยะและการลดการตัดไม้ทำเยื่อกระดาษ จึงทำโครงงานนี้เพื่อเปรียบเทียบชนิดของเส้นใยวัชพืชที่นำมาผสมกระดาษ โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมกระดาษเก่า ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากกระดาษที่ได้ และส่งเสริมรายได้ในท้องถิ่นโดยทดลองตอนที่ 1 หาปริมาณ NaOH ที่เหมาะสมในการทำกระดาษ พบว่าเยื่อไมยราบยักษ์ หญ้าคอมมิวนิสต์ ใช้ NaOH ร้อยละ 15 ส่วนเยื่อบอนใช้ร้อยละ 10 และ เมื่อนำเยื่อทั้งหมดมารวมกันใช้ จึงเห็นเยื่อจากกล้องจุลทรรศน์ได้ชัดเจนไม่สลายเยื่อ ตอนที่ 2 หาเวลาที่เหมาะสมในการต้มเยื่อไมยราบยักษ์ หญ้าคอมมิวนิสต์และบอนคือ 35 35 และ 15 นาที ทำให้มีการยืดเกาะระหว่างเนื้อเยื่อมีความเหนียวมากช่องว่างไม่มาก ตอนที่ 3 หาเวลาที่เหมาะสมในการแช่สารฟอกขาว พบว่าเมื่อใช้อัตราส่วนต่างกันลักษณะของเยื่อกระดาษต่างกัน อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 2:1 เมื่อผสมวัชพืช 2 ชนิดกับเยื่อกระดาษเรียบเหนียวเขียนตัวอักษรได้ เมื่อผสมวัชพืช 3 ชนิดกับกระดาษได้อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่าง กระดาษ : วัชพืช1:วัชพืช2:วัชพืช3 คือ 3:1:1:1 มีผิวเรียบ ทนแรงดึงได้ 5.00 นิวตัน ช่องว่างน้อย ความเหนียวมาก เขียนตัวอักษรได้ สามารถนำกระดาษที่ผลิตขึ้นทำผลิตภัณฑ์ได้มากมาย เช่น ห่อของขวัญ สมุด กล่อง ดอกไม้ ฯลฯ ทำให้ประหยัด ลดสภาวะแวดล้อมได้ดี