โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการใช้ไรแดง (Moina macrocopa) ประเมินคุณภาพน้ำ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของไรแดงในการประเมินคุณภาพน้ำเบื้องต้น อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์ แว่นขยาย กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ ขวดขนาดเล็ก นาฬิกาจับเวลา กระจกและแผ่นปิดสไลด์ สารเคมีที่ใช้ได้แก่ สารกำจัดวัชพืช ไดคลอเฟต 36 % w/v วิธีดำเนินการโดยทำการเพาะเลี้ยงไรแดงโดยสังเกตสภาวะเมื่อไรแดงอยู่น้ำปกติ จากนั้นทำการผสมสารกำจัดวัชพืชกับน้ำที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน แล้วสังเกตลักษณะของไรแดงที่เปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มความเข้มข้นของสารกำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่าเมื่อความเข้มข้นของสารกำจัดวัชพืชมากกว่า 225 มิลลิกรัม-ลิตรทำให้ขนที่หนวด เหงือก และระยางค์ ของไรแดงเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ว่ายน้ำมีทิศทางไม่แน่นอน ตัวหมุนชนกับตัวอื่น แล้วค่อยๆ ช้าลงภายใน 5 นาที เนื่องจากถูกพิษของสารกำจัดวัชพืชที่เริ่มออกฤทธิ์ มีการรวมอยู่เป็นแห่งๆ ที่ระดับความเข้มข้น 112 -202 มิลลิกรัม-ลิตร ไรแดงจะมีการเคลื่อนไหวมาก หมุนตัวมาก เคลื่อนที่มีทิศทางไม่แน่นอน สภาพอ่อนแอ 91-98 % ส่วนที่ระดับความเข้มข้นน้อยกว่า 90 มิลลิกรัมต่อลิตร ไรแดงมีการเคลื่อนไหวเป็นปกติ เคลื่อนที่มีทิศทางแน่นอน ไม่หมุนตัว ไม่ชนตัวอื่น กระจายตัวสม่ำเสมอ มีสภาพอ่อนแอ 85-88 % และเมื่อใช้ไรแดงประเมินคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติพบว่า ในหน้าฝนไรแดงมีปริมาณมากและปกติดี อาจมาจากเกษตรกรยังไม่ค่อยใช้สารกำจัดวัชพืช และทำให้ไรแดงมีสภาพปกติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิไลพร พรมโชติ
อำพล เทพบุปผา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
คุณภาพน้ำ
ไรแดง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์