โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการดูดซับไอออนของโลหะตะกั่วด้วยสาหร่ายหางกระรอก
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เป็นการศึกษาการดูดซับโลหะตะกั่วของสาหร่ายหางกระรอกในสภาวะที่ไม่มีแสง, สภาวะที่ถูกแสงเต็มที่ และสภาวะที่ถูกแสงรำไร โดยใช้สารละลายตะกั่วความเข้มข้น 50 และ 100 ppm แล้วทำการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะตะกั่วของสารละลาย และสาหร่ายหางกระรอกที่ระยะเวลาต่าง ๆ ด้วยวิธีไอโอดิมิตรี รวมทั้งบันทึกสมบัติต่าง ๆ ของสารละลายอันได้แก่ ค่า DO, pH, อุณหภูมิของสารละลาย จากการทดลองพบว่า สาหร่ายสามารถดูดซับสารตะกั่วได้ในสภาวะที่มีแสง และความเข้มของแสงที่เหมาะสมคือ ในสภาวะที่มีแสงรำไร เพราะว่าจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และมีการเจริญเติบโต และความสามารถในการดูดซับสารตะกั่วจะสูงขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถรักษาสมบัติต่าง ๆ ของน้ำให้คงที่ด้วย เช่น อุณหภูมิ pH และค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำ และที่ความเข้มข้นของสารละลายสูงขึ้น ความสามารถในการดูดซับโลหะตะกั่วของสาหร่ายจะสูงขึ้น ผลจากการศึกษาโครงงานนี้สามารถนำเอาสาหร่ายหางกระรอกมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีโลหะตะกั่วละลายอยู่ได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐนิจ ทองเสีย
พัชรีวรรณ สันติพงษ์ไพบูลย์
สมรัฐ นันรัมย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พรชัย คำสิงห์นอก
สมจิตต์ ตีบกลาง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(26) p64
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ตะกั่ว
สาหร่ายหางกระรอก
ไอออน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์