โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผลผลิตจากเส้นใยผีเสื้อยักษ์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีดึงหรือสาวเส้นใยไหมจากรังไหมเพื่อไปใช้ทอเป็นผืนผ้า รังไหมที่ใช้เป็นของผีเสื้อกลางคืนที่มีชื่อว่า ผีเสื้อยักษ์ (Attacus atlus Linn. ) สร้างเส้นใยรังไหมขนาดใหญ่สีน้ำตาลทอง เส้นใยจะเหนียวสาวออกได้ยาก ผู้จัดทำโครงงานได้ทดลองดึงเส้นใยโดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 หาสารที่สามารถดึงเส้นใยออกได้โดยแช่รังไหม 24 ชั่วโมง ในสาร 5 ชนิด คือ น้ำขี้เถ้า น้ำเปลือกไข่ที่เผาบดละเอียด น้ำเปลือกหอยแครงที่เผาบดละเอียด สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ อย่างละ 50 กรัม และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 5% ต่อน้ำ 500 cm3 ผลการทดลองพบว่าสารที่สามารถทำให้ดึงเส้นใยออกมาได้ คือ สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่านั้น ตอนที่ 2 หาความเข้มข้นของสารที่สามารถดึงเส้นใยออกจากรังไหม ทำการทดลองโดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5, 3.0, 3.5, 4.0, 4.5, และ 5.0% และสารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์จำนวน 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45 และ 50 g ต่อน้ำ 500 cm3 พบว่าสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ดึงเส้นไหมได้น้อยและเส้นใยที่ได้จะเปื่อยยุ่ย ขาดง่าย แต่สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์สามารถดึงเส้นใยออกจากรังไหมได้ดี มีความเหนียวทนทานสามารถนำมาทอเป็นผืนผ้าได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • รัฐศาสตร์ ดานะ

  • ศิริลักษณ์ อินทรเพชร

  • อมรรัตน์ ศรีวงษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ผีเสื้อ

  • เส้นใยไหม

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์