โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องว่านรางจืดลดสารพิษจากยาฆ่าแมลง

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของน้ำคั้นจากใบว่านรางจืดต่อการลดสารพิษจากยาฆ่าแมลง โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาชนิดของพืชสมุนไพรที่มีผลต่อการลดสารพิษจากยาฆ่าแมลง (พาราไธออน) โดยนำยาฆ่าแมลงผสมจากน้ำคั้นจากใบพืชสมุนไพรแต่ละชนิด คือ ว่านรางจืด กะทกรก ใบเงินใบทอง ใบนาค และใบประยงค์ มาทดสอบกับยาชุดตรวจหายาฆ่าแมลงในอาหาร (น้ำยาจีที) ผลการทดลองพบว่า น้ำคั้นจากว่านรางจืดสามารถลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้ ตอนที่ 2 ศึกษาผลของน้ำคั้นจากใบว่านรางจืดที่มีผลต่อการลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงในผักคะน้า โดยนำคะน้าที่ฉีดยาฆ่าแมลงและไม่ฉีดยาฆ่าแมลงผสมน้ำคั้นจากใบว่านรางจืด มาทดสอบกับชุดตรวจหายาฆ่าแมลงในอาหาร (น้ำยาจีที) ผลการทดลองพบว่า น้ำคั้นจากใบว่านรางจืดสามารถลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงในผักคะน้าได้ ตอนที่ 3 ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมหลังจากฉีดยาฆ่าแมลงในผักคะน้าต่อการลดสารพิษตกค้างด้วยน้ำคั้นจากใบว่านรางจืด โดยนำผักคะน้าหลังจากฉีดยาฆ่าแมลงแล้วในระเวลาต่างๆ กันผสมและไม่ผสมจากน้ำคั้นจากใบว่านรางจืดมาทดสอบกับชุดตรวจ หายาฆ่าแมลงในอาหาร (น้ำยาจีที) ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาที่น้ำคั้นจากใบว่านรางจืดสามารถลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงในผักคะน้าได้ดีที่สุดคือหลังจากฉีดยาแล้ว 3 วัน ตอนที่ 4 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของใบว่านรางจืดต่อน้ำกับการลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงในผักคะน้าโดยนำว่านรางจืด 50g ผสมน้ำ 50 cm3 ,100 cm3, 150 cm3, 200 cm, และ 250cm3 ตามลำดับมาทดสอบกับชุดตรวจหายาฆ่าแมลงในอาหรา (น้ำยาจีที) ผลการทดลองพบว่า ในอัตราส่วนน้ำคั้นจากใบว่านรางจืด 50g ต่อน้ำ 50 cm3 สามรถลดสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้ดีที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จันทิมา รัตนกิตติไพบูรณ์

  • จุฑามาศ ชัชวาลวรวิทย์

  • ภาณุรักษ์ แก่อินทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • วารี เอกสาร

  • ศรีทัศน์ วัยวัฒนะ

  • ไทยธรรม ไก่แก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคกลาง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์