โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องยางแผ่นผึ่งแห้งด้วยกรดจากธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จามรี บำรุงการ
รุ่งรัตน์ อุ่มเจริญ
ศุภมาส แสงหล่อ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤษณล จินดามัยกุล
เบ็ญจวรรณ โรจน์พานิช
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กรด
ยางพารา
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันการผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง มักจะใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โครงงานนี้จึงพยายามหาวิธีลดมลภาวะดังกล่าว ด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ โดยนำสารสกัดจากพืชที่มีรสเปรี้ยว เช่น ใบชะมวง ใบมะขาม ใบแต้ว มาใช้แทนกรดซัลฟิวริกและกรดฟอร์มิก พบว่าใบชะมวง จะได้ผลดีที่สุด และเมื่อนำใบชะมวงผสมกับน้ำซาวข้าว อัตราส่วน 1 : 1 โดยมวล/ปริมาตร หมักจำนวน 3 วัน สามารถทำให้น้ำยางสด จับตัวกันได้ดี หลังรีดแล้ว นำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส พบว่า ลักษณะยางที่ได้ มีสีเหลืองใส ใกล้เคียงกับยางแผ่นผึ่งแห้งที่ใช้กรดซัลฟิวริกและกรดฟอร์มิก และมีน้ำหนักยางแห้ง ไม่แตกต่างกัน