โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพิ่มขนาดสับปะรดโดยการตัดจุก

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์นี้มีจุดประสงค์เพื่อหาวิธีการเพิ่มคุณภาพของผลสับปะรดพันธุ์สวีโดยวิธีการตัดจุกและเปรียบเทียบขนาดและน้ำหนักของผลสับปะรดที่ตัดจุกออกกับสับปะรดที่ไม่ได้ตัดจุกออกจากนั้นนำมาตรวจสอบไนเตรท ค่าความหวานและค่า pH ในสับปะรดที่ตัดก่อนนำไปจำหน่าย ทำการทดลองดังนี้ เปรียบเทียบขนาดของผลสับปะรดที่ตัดจุก ตัดจุกครึ่งหนึ่งกับสับปะรดที่ปลูกตามปกติ ผลปรากฏว่า สับปะรดที่ตัดจุกมีเส้นรอบวงเฉลี่ย 43.2 cm ความสูงของผล 22.1 cm น้ำหนัก/ผล 1.87 cm > สับปะรดที่ตัดจุกครึ่งหนึ่งซึ่งมีเส้นรอบวงเฉลี่ย 42 cm ความสูงผล 20.7 cm น้ำหนัก/ผล 1.71 kg > สับปะรดที่ไม่ตัดจุกมีเส้นรอบวงเฉลี่ย 41.9 cm ความสูงผล 20.5 cm น้ำหนัก/ผล 1.68 kg ตามลำดับ โดยน้ำหนักผลสับปะรดหลังเก็บเกี่ยวกลุ่มที่ไม่ตัดจุก ตัดจุกครึ่งหนึ่งและตัดจุกหมดมีความแตกต่างกันอย่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากนั้นหาคุณภาพสับปะรดทั้ง 3 กลุ่ม โดยใช้ค่าไนเตรทค่าความหวานและค่า pH พบว่า ปริมาณไนเตรทไม่เกิน 10 ppm โดยใช้เกณฑ์การรับซื้อจากมาตรฐานและเกณฑ์การยอมรับจากบริษัท ทิปโก้ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งค่า NO3 ของสับปะรดที่ตรวจ < 10 ppm ถือเป็นลูกปกติ ค่าความหวานของสับปะรดหลังเก็บเกี่ยวทุกกลุ่มมีค่าไม่น้อย 12 องศาบริกซ์ เป็นไปตามข้อกำหนดเรื่องคุณภาพของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และค่าความหวานของสับปะรดจะเพิ่มขึ้นค่าความเป็นกรดลดลงตามระยะเวลาหลังเก็บเกี่ยว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ศุภกิตติ์ ศยามล

  • อภิภูมิ อุ่ยกุมกร

  • อุดมศักดิ์ ศรีคง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสวีวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย เหรียญทอง ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • สับปะรด การปลูก

  • สับปะรด ขนาด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์