โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องขี้ตาแร่พิชิตลดสภาวะโลกร้อน

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานขี้ตาแร่พิชิตลดสภาวะโลกร้อน ได้ศึกษาการใช้ไส้เดือนดิน สายพันธุ์พื้นเมืองชื่อว่า ขี้ตาแร่ ช่วยกำจัดเศษอาหารที่เกิดขึ้นภายในโรงอาหาร โดยใช้ห้องปฏิบัติการชีววิทยาของโรงเรียนเสริมงามวิทยาคม เป็นแหล่งเรียนรู้ ทดลองศึกษาการกินเศษอาหารของไส้เดือน โดยใช้วิธีแบบธรรมชาติบำบัดที่เป็นทางเลือกของการลดเศษอาหารจากแหล่งกำเนิดที่มีประสิทธิผล โดยแบ่งกลุ่มการศึกษาการกินอาหารของไส้เดือนดินสายพันธุ์ขี้ตาแร่ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ตัว โดยกินเศษอาหารดังนี้ คือ เศษข้าว เศษเปลือกไม้ เศษผัก ศึกษาและเก็บผลการทดลอง โดยการชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบการกินเศษอาหารแต่ละชนิดแทนการฝังกลบ ย่อมส่งผลต่อการลดก๊าซมีเทนที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนให้มีปริมาณลดลงต่อไป ได้ผลดังนี้ จากการทดลองเลี้ยงไส้เดือนดิน โดยแบ่งเลี้ยงเป็น 4 กลุ่ม คือ เลี้ยงด้วยเศษอาหาร (ข้าว), เศษผัก, เศษเปลือกผลไม้ และกลุ่มควบคุม ผลปรากฏว่าไส้เดือนดินที่เลี้ยงด้วยเศษอาหาร (ข้าว) นั้นมีอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด เพราะว่าโดยสังเกตจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนและยังมีน้ำหนักรวมเฉลี่ย 3 เดือนมากที่สุดใน 4 กลุ่มทดลอง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กุลธิดา กันนาพานิช

  • พิจิตรา ตันทา

  • ศรันยา ลิไธสงค์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กรรณิกา บุญประเสริฐ

  • เอกชัย จันทร์ตา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ขี้ตาแร่

  • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

  • สภาวะโลกร้อน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์