โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเครื่องควบคุมระบบน้ำในการเลี้ยงกุ้ง Crayfish
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนัสพงศ์ พรหมสินธุ์
อุดมโชค อุเทียนยอง
เจตนิพันธ์ ปุกคำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วิแทน ปวกพรมมา
เอกชัย จันทร์ตา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
Crayfish
กุ้ง การเลี้ยง
วิทยาศาสตร์ประยุกต์
เครื่องควบคุมระบบน้ำ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การเลี้ยงกุ้ง Crayfish ไม่สามารถเลี้ยงได้โดยง่าย การควบคุมระบบน้ำจึงมีความสำคัญ การเปลี่ยนน้ำนั้นเป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาน้ำขุ่นได้เท่านั้น ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดงานวิจัยเกี่ยวกับการแก้ไขระบบน้ำในการเลี้ยงกุ้งขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิและการเปลี่ยนน้ำเมื่อน้ำขุ่นให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้ง Crayfish ได้ และสามารถลดความยุ่งยากในการเปลี่ยนน้ำเลี้ยงกุ้ง ในโครงงานได้ออกแบบและสร้างเครื่องควบคุมระบบน้ำในการเลี้ยงกุ้ง Crayfish โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ของ Arduino เป็นตัวประมวลผล เมื่อ Sensor Temperature วัดอุณหภูมิของน้ำได้ร้อนเกิน 24 องศาเซลเซียส เครื่องจะปรับอุณหภูมิของน้ำให้ลดลงจนถึง 22 องศาเซลเซียส จึงทำให้อุณหภูมิของน้ำคงที่เสมอ และหลักการเปลี่ยนน้ำขุ่นของน้ำเลี้ยงกุ้ง ใช้ Sensor LDR วัดความเข้มแสงในน้ำได้น้อย เครื่องจะสั่ง Solenoid Valve ให้เปลี่ยนน้ำในบ่อ และเมื่อ Sensor LDR วัดความเข้มแสงในน้ำได้มาก เครื่องจะสั่ง Solenoid Valve หยุดการทำงานระบบเปลี่ยนน้ำขุ่นได้ ผลการทดลองพบว่าเวลาที่ทำให้น้ำลดลงที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส 15 นาที ความขุ่นของน้ำเลี้ยงกุ้งโดยตรวจจับความเข้มของแสงที่ต่ำกว่า 97% ระบบจะทำการเปลี่ยนน้ำ