โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาระยะห่างจากดวงอาทิตย์ที่ส่งผลต่อขนาดของดาวหางฮาร์ตเลย์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นัคเรศ อินทนะ
วิลาสินี จี้จำปา
ศุภพงษ์ วงค์ถาน
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทวิทย์กายภาพภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ดวงอาทิตย์ระยะทาง
ดาวหางฮาร์ตเลย์ขนาด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ดาวหางฮาร์ตเลย์ (103P/Hartley) ถูกค้นพบโดย มอลคลอม ฮาร์ตเลย์ (Malcolm Hartley) ในปี ค.ศ. 1986 เป็นดาวหางที่มีขนาดเล็กทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นหางเมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ มีคาบวงโคจร 6.46 ปี ปรากฏให้เห็นเป็นสีเขียวซีดมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 กิโลเมตร คณะผู้จัดทำโครงงานมีความประสงค์ที่จะศึกษาระยะห่างจากดวงอาทิตย์ที่ส่งผลต่อขนาดของดาวหางฮาร์ตเลย์ โดยนำข้อมูลจาก Comet Observation Database ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2553 1 กุมภาพันธ์ 2554 มาวิเคราะห์ผลด้วยซอฟแวร์ Microsoft Office Excel 2007 ผลปรากฏว่าดาวหางมีขนาดโคมาใหญ่มากที่สุด 14.6 เท่าของโลกเมื่อเวลา 15 วัน (Perihelion Date) ได้สมการความสัมพันธ์เป็นรูปพาราโบลา และขนาดโคมาของดาวหางหลังจากโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดลดลงช้ากว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดโคมาของดาวหางก่อนที่จะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ สาเหตุมาจากการสะสมความร้อนในตัวดาวหางเอง