โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องผักคะน้าไฮเทคด้วยค่า pH ที่เหมาะสม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฑามาศ อ่อนสง
ผกาวลี บัวทองสุข
พรทิพย์ จันทร์ขาว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
pH
คะน้า
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรปลูกผักคะน้าโดยใช้ค่า pH ให้เหมาะสม อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ เครื่องชั่ง ช้อนชา ถุงชำ บีกเกอร์ และแท่งแก้ว ตัวทดสอบที่ใช้ได้แก่ กระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ สารเคมีที่ใช้ได้แก่ ปูนขาว ผงกำมะถัน ปุ๋ยผสมดินสำเร็จรูป พืชที่ใช้คือ ต้นคะน้า วิธีทำการทดลองโดย นำปุ๋ยผสมดินสำเร็จรูปมาชั่งใส่ปริมาณถุงละ 500 กรัม จำนวน 15 ถุง เพื่อแบ่งเป็น 5 กลุ่มการทดลอง โดยที่กลุ่มที่ 1 เติมปูนขาว 3 ช้อนชา แล้วทำการผสมกับดิน คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วจึงนำไปปลูกต้นผักคะน้า กลุ่มที่ 2 ทำเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ 1 แล้วเติมปูนขาวเพียง 1 ช้อนชา กลุ่มที่ 3 เติมกำมะถัน 3 ช้อนชาผสมกับดินคลุกให้เข้ากัน จากนั้นจึงนำไปปลูกต้นผักคะน้า กลุ่มที่ 4 ทำเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่ 3 แต่ใส่กำมะถัน 4 ช้อนชา และกลุ่มที่ 5 ใช้ดินที่ไม่ผสมสารเคมีได้แก่ ปูนขาวและกำมะถัน จากนั้นทำการพรมน้ำ แล้วใช้ช้อนชาสุ่มตักปุ๋ยเพื่อนำมาผสมกับน้ำ จากนั้นจึงนำมาทดสอบหาค่า pH โดยการใช้กระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ทำการวัด เพื่อหาค่า pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า จากการทดลองพบว่า ผักคะน้าที่ปลูกในดินที่มี pH อยู่ระหว่าง 9-10 ผักคะน้าจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด รองลงมาคือช่วง pH 3 5 ส่วน pH ที่ผักคะน้าเจริญเติบโตไม่ค่อยดีคือดินที่มีค่า pH = 7