โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแชลแล็คจากยางมะม่วง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการละลายยางมะม่วงโดยใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิด คือ น้ำ น้ำมันเบนซิน และ เอทิลแอลกอฮอล์ จากการทดลองตอนที่ 1 พบว่า ยางมะม่วงละลายได้ดีที่สุดในเอทิลแอลกอฮอล์ และ น้ำมันเบนซิน ตามลำดับ แต่ไม่ละลายในน้ำ จากการทดลองตอนที่ 2 เปรียบเทียบคุณภาพของไม้ที่ทาจากเชลแล็กที่ซื้อมาจากท้องตลาด กับเชลแล็กจากยางมะม่วง พบเชลแล็กจากยางมะม่วงมีคุณภาพดีกว่าเชลแล็กที่ซื้อมาจากท้องตลาด จากการทดลองตอนที่ 3 ศึกษาความเข้มข้นของสารละลายยางมะม่วงที่เหมาะสมต่อการทาไม้ โดยใช้ยางมะม่วง 200 กรัม 100 กรัม และ 50 กรัม ละลายในน้ำมันเบนซิน 100 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร พบว่า ความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุด คือ 50 100 และ 200 กรัม ตามลำดับ จากการทดลองตอนที่ 4 พบว่าชนิดของไม้ที่เหมาะสมต่อการทาเชลแล็กจากยางมะม่วง คือไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ และไม้อัด ตามลำดับ และการทดลองตอนที่ 2 เป็นการเปรียบเทียบคุณภาพไม้ที่ทาแชลแล็คจากท้องตลาดกับไม้ที่ทาแชลแล็คจากยางมะม่วง พบว่าเชลแล็กจากยางมะม่วงมีคุณภาพดีกว่าเชลแล็กจากท้องตลาด โดยเมื่อทาแล้วจะให้สีเข้มเป็นเงางามกว่า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ต้องตา หอมหวาน
น้ำฝน ปั้นบุญ
เสาวลักษณ์ เอกะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธวัชชัย กระดังงา
อาจาย์วันทนา กระดังงา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
มะม่วง
แชลแล็ค
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์