โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของข้าววัชพืชโดยใช้สารสกัดจากต้นต้อยติ่ง (Study Efficacy Inhibition in Germination of Weedy rice by Neet Extract)

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการยับยั้งการงอกของข้าววัชพืช 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวดีด ข้าวลาย และข้าวหาง โดยใช้สารสกัดจากต้นต้อยติ่งที่สกัดด้วยน้ำ และทำทดสอบการงอกของข้าววัชพืชทั้ง 3 ชนิด ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากต้นต้อยติ่งสามารถยับยั้งการงอกของข้าววัชพืชทั้ง 3 ชนิดได้ ซึ่งข้าวดีด ข้าวลาย และข้าวหาง ที่เพาะโดยใช้ในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) จะมีค่าเฉลี่ยของจำนวนเมล็ดที่งอก คือจำนวน 7 เมล็ด 5 เมล็ด และ 5 เมล็ด ตามลำดับ ส่วนข้าวดีด ข้าวลาย และข้าวหาง ที่เพาะโดยใช้สารสกัดจากต้นต้อยติ่งจะมีค่าเฉลี่ยของจำนวนเมล็ดที่งอก น้อยกว่า คือ 3,2 และ 2 เมล็ด ตามลำดับและเมื่อนำจำนวนเมล็ดที่งอกทั้งเมื่อเพาะเมล็ดโดยใช้น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) และเพาะเมล็ดโดยใช้สารสกัดจากต้นต้อยติ่ง มาคำนวณหาการยับยั้งการงอก (%) พบว่าสารสกัดจากต้นต้อยติ่งสามารถยับยั้งการงอกของข้าวดีดได้ 57% ยับยั้งการงอกของข้าวลายได้ 60% และยับยั้งการงอกของข้าวหางได้ 20% การศึกษานี้จึงสรุปได้ว่าสารสกัดจากต้นต้อยติ่งสามารถยับยั้งการงอกของข้าววัชพืชทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ข้าวดีด ข้าวลาย และข้าวหางได้ โดยจะสามารถยับยั้งการงอกของข้าวลายได้มากที่สุด รองลงมาคือ ข้าวดีดและสามารถยับยั้งการงอกของข้าวหางได้น้อยที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ดาวภัทรศุกร์ ภีภูเขียว

  • มนฤทัย สุจริต

  • วิไลรัตน์ แพรสีนวล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวังเมืองชนประสิทธิ์วิทยาคม

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทชีวภาพภาคเหนือ

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ข้าววัชพืชการยับยั้ง

  • ต้อยติ่งสารสกัด

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์