โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องCharger จากขยะอิเล็กทรอนิกส์
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เครื่องชาร์จอเนกประสงค์จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้ชาร์จโทรศัพท์มือถือ ไฟฉายเคลื่อนที่ และไม้ตียุง โดยใช้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (อุปกรณ์ไอทีที่ใช้ไม่ได้) มาทำให้เกิดประโยชน์โดยการสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานขาดแคลน และในยามฉุกเฉินไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ให้เราหมุนที่กว้าน เมื่อเราหมุนกว้านจะทำให้เฟืองหมุนไปฉุดให้สเต็ปมอเตอร์หมุนด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าเป็นกระแสสลับออกมาได้ประมาณ 16 โวลต์ 250 มิลลิแอมป์ จากนั้นไฟฟ้ากระแสสลับจะถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยชุดเรกลูเรต กระแสไฟฟ้าที่ถูกแปลงแล้วจะนำไปชาร์จแบตเตอรี่ ขนาด 12 โวลต์ 1.2 แอมแปร์เพื่อสำรอง ดังนั้นเมื่อเราหมุนกว้านด้วยความเร็วสูงสุดคงที่ตลอดเวลา 6 ชั่วโมง จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 1.2 แอมแปร์และในทำนองเดียวกัน ถ้าหมุนกว้านด้วยความเร็วสูงคงที่ตลอดเวลา 2 ชั่วโมง จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือยื่ห้อหนึ่ง 3.7 โวลต์ 1.2 แอมแปร์จนเต็ม และจากการทดสอบประสิทธิภาพการชาร์จโทรศัพท์มือถือยี่ห้อหนุ่งที่แบตเตอรี่หมดจนไม่สามารถโทรออกได้เลยโดยทำการทดสอบด้วยการหมุนกว้านเพียงไม่กี่รอบเพื่อชาร์จโทรศัพท์โดยตรง พบว่าโทรศัพท์สามารถเปิดเครื่องพร้อมแสดงกำลังชาร์จให้เห็น ซึ่งหากหมุนกว้านต่อเนื่องประมาณ 1-3 นาที ก็เพียงพอที่จะโทรออกสำหรับการขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ดวงกมล แซ่โล้ว
นภัส งามประดับเลิศ
อุมาพร แซ่เติ๋น
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชาตินี ศิริพงษ์ไทย
สำราญ ศรเลี่ยมทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ภาคเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
Charger
ขยะอิเล็กทรอนิกส์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์