โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนวัตกรรมอนุรักษ์ป่าชุ่มน้ำจากเนอสเซอรีอนุบาลโกงกางใบใหญ่
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมเนอสเซอรี่อนุบาลโกงกาง โดยจัดทำเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นส่วนของตัวเนอสเซอรี่ที่สามารถแก้ปัญหาการถูกพัดพาต้นกล้าโกงกาง โดยเลือกใช้วัสดุคอมพาวด์ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ คือ เลือกใช้วัสดุที่ให้ความแข็งแรงยืดหยุ่น แตกยาก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและย่อยสลายได้ จึงเลือกใช้วัสดุที่สำคัญ คือ ปูนซีเมนต์ เปลือกหอยนางรมป่น น้ำยางพาราข้น 60% ทราย เส้นใยปาล์ม ในอัตราส่วน 4 : 2 : 1 : 0.5 : 2 ออกแบบรูปทรงเป็นกรวยคว่ำปลายตัด ฐานกว้างสองเท่าของความสูง เนื่องจากเป็นรูปทรงที่ล้มได้ยากเมื่ออยู่ดินเลน มีความสูงหนึ่งในสี่ของความยาวฝักโกงกาง มีมวล 4 กิโลกรัม เพื่อให้มีมวลต้านทานการพัดพาของกระแสน้ำ เมื่อน้ำขึ้น น้ำลง ตรงกลางเป็นส่วนแคปซูลที่มีปัจจัยจำเป็น ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นอ่อนของฝักโกงกาง ซึ่งประกอบด้วย ดินเลนนากุ้งผสมกับดินเลนป่าชายเลน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารประกอบด้วยสารสกัดจากกากกาแฟ เพื่อเร่งการเจริญของราก และกาบกล้วยน้ำว้าช่วยดูดซับความชื้น การผสมสารเหล่านี้ทำให้มีอัตราการงอกของต้นโกงกางวัยอ่อนสูงถึง 85.87% สูงกว่าวิธีการปลูกด้วยการระดมคนสูงถึง 55.87% สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกด้วยกระดานลุยโคลน มีต้นทุนเพียง 35 บาท
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กษิดิ์เดช สุขไกว
ชิดชนก อินทร์แก้ว
พัทธดนย์ นามวงค์เนาว์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย เหรียญทองแดง ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
นวัตกรรม
ป่าชายเลน
สิ่งแวดล้อม
โกงกาง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์