โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการชะลอการเปลี่ยนสีผิวเปลือกผลไม้สุกโดยใช้แผ่นฟิล์มจากรำข้าว (To slow down fruit ripeness by using from bran of rice)

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิราพร พลิดี

  • ณัฐสิมา วงค์ดาว

  • สุภาวดี สายญาติ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทย์กายภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ผลไม้การชะลอ

  • ผลไม้เปลือก

  • รำข้าว

  • แผ่นฟิล์ม

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานการชะลอการเปลี่ยนสีผิวเปลือกผลไม้สุกโดยใช้แผ่นฟิล์มจากรำข้าวเป็นการ ทดลองหาวิธีการทำให้สีผิวเปลือกผลไม้สุกอยู่ได้นานไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและไม่เกิดจุดเชื้อรา โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เนื่องจากผลไม้ในประเทศไทยมีจำนวนมากและมีทุกฤดูกาลระยะเวลาการสุก ของผลไม้ ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาสั้น สีเปลือกของผลไม้โดยเฉพาะมะม่วง และกล้วยจะมีการเปลี่ยนสีผิวจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลและมีจุดดำของเชื้อราเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ไม่น่ารับประทานเกิด การเน่าเสียและทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ของเกษตรกรและเศรษฐกิจกลุ่มผู้จัดทำได้ทดลองหาวิธีชะลอการเปลี่ยนสีผิวของเปลือกผลไม้สุกจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลให้ใช้ระยะเวลาช้าลงโดยการนำสารที่สกัดจากรำข้าวมาทำเป็นแผ่นฟิล์มเคลือบผิวเปลือกผลไม้ที่สุกได้แก่ มะม่วง และกล้วยหอมสุก โดย มีจุดประสงค์ การทดลองคือ 1.หาวิธีการชะลอการเปลี่ยนสีผิวเปลือกผลไม้สุกโดยใช้แผ่นฟิล์มจากรำข้าว 2.หาอัตราส่วนระหว่างมวลของรำข้าวกับปริมาตรของน้ำที่เหมาะสมในการผลิตแผ่นฟิล์มจากรำข้าวที่ทำให้แผ่นฟิล์มมีคุณภาพดี 3.นำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์และทดแทนการใช้สารเคมีโดย แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่1 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของรำข้าวกับปริมาตรของน้ำที่เหมาะสมในการผลิตแผ่นฟิล์มจากรำข้าว ตอนที่ 2 ศึกษาการชะลอการเปลี่ยนสีผิว ของเปลือกผลไม้สุกโดยใช้แผ่นฟิล์มจากรำข้าว จากผลการทดลองอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างมวลของรำข้าวกับปริมาตรของน้ำในการผลิตแผ่นฟิล์มจากรำข้าวในอัตราส่วน 1 : 4 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จะได้แผ่นฟิล์มจากรำข้าวที่มี คุณภาพดี เหนียว ต้านต่อแรงดึง มีขูดขีดน้อย และแผ่นฟิล์มจากรำข้าวมีประสิทธิภาพชะลอการเปลี่ยนสีผิวของเปลือกมะม่วงและกล้วยหอมได้นานกว่าและเกิดจุดด่างดำของเชื้อราได้น้อยกว่าที่ไม่เคลือบแผ่นฟิล์มจากรำข้าว