โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องหญ้าทะเลในบ่อกุ้งร้าง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จุฑามณี แท่นมงคลมาศ

  • นาสีรา สาและ

  • อานีเนาะ ดาโอะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุวรรณไพบูลย์

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคใต้

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาชนิด ลักษณะ สภาพแวดล้อมและรูปแบบการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการฟื้นฟูระบบนิเวศหญ้าทะเล โดยทำการสำรวจพื้นที่ในบ่อกุ้งร้าง 2 แบบ คือ บ่อกุ้งร้างแบบเปิดซึ่งมีทางติดต่อกับทะเล และบ่อกุ้งร้างแบบปิดซึ่งไม่ติดต่อกับทะเล โดยพบหญ้าทะเล 2 ชนิด คือ หญ้าใบมะกรูด (Halophilia ovalis) และ หญ้าชะเงาฝอย (Halodule pinifolia) จากการสำรวจพบว่าในบ่อกุ้งแบบเปิดแนวหญ้าทะเลจะเกิดขึ้นรอบขอบบ่อ พบหญ้าใบมะกรูดมีมวลชีวภาพเฉลี่ย 38.44 กรัมต่อตารางเมตร และพบหญ้าชะเงาฝอยมีมวลชีวภาพเฉลี่ย 0.2 กรัมต่อตารางเมตร สภาพแวดล้อมทางกายภาพของน้ำพบว่ามีความเค็ม 26-31 ส่วนในพันส่วน อุณหภูมิ 30-31 องศาเซลเซียส ความลึกต่ำสุด 1-6 เซนติเมตร ความลึกสูงสุด 30-90 เซนติเมตร ดินเป็นดินโคลนปนทราย โดยพบว่าหญ้าใบมะกรูดที่พบเป็นชนิดเด่นโดยมีความกว้างและความยาวใบมากกว่าในบ่อกุ้งแบบปิด ส่วนในบ่อกุ้งแบบปิดพบว่าหญ้าชะเงาฝอยมีมวลชีวภาพเฉลี่ย 15.73 กรัมต่อตารางเมตรและพบหญ้าใบมะกรูดมีมวลชีวภาพเฉลี่ย 0.4 กรัมต่อตารางเมตร สภาพแวดล้อมทางกายภาพของน้ำพบว่ามีความเค็ม 33-38 ส่วนในพันส่วน อุณหภูมิ 34-38 องศาเซลเซียส ความลึกต่ำสุด 1-6 เซนติเมตร และความลึกสูงสุด 20-120 ดินเป็นดินโคลนปนทราย โดยพบว่าหญ้าชะเงาฝอยที่พบเป็นชนิดเด่นโดยมีความยาวของใบ ลำต้น และรากมากกว่าบ่อกุ้งแบบเปิด