โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเพิ่มคุณภาพเส้นกระจูด (Lepironia articulate (Ratz.) Domin) ในการทำผลิตภัณฑ์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กาญจนา เรืองสง
พณิตา ศรีสุวรรณ
วิลาสินี อักษรสว่าง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่เชิดชูเกียรติ ประเภทกายภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระจูดคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องการเพิ่มคุณภาพของเส้นกระจูด (Lepironia articulate (Ratz.) Domin) ในการทำผลิตภัณฑ์ เพื่อศึกษาระบบนิเวศของแหล่งที่ปลูกกระจูด พบว่า ลักษณะทางกายภาพของน้ำมีสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นโคลน ดินมีสีน้ำตาล กลิ่นโคลน ลักษณะทางชีวภาพ พืชที่พบ ได้แก่ ธูปฤาษี กกสามเหลี่ยม กระจูดหนู หญ้าปล้อง และกระจูดใหญ่ สัตว์ที่พบ ได้แก่ ปลาหมอ ผีเสื้อ นกกระยาง และแมลงปอ เพื่อศึกษาลักษณะของต้นกระจูด อายุของต้นกระจูดประมาณ 3 ปี มีลักษณะลำต้นกลม สีเขียวอ่อน ออกดอกเป็นกระจุกแน่นคล้ายดอกกระเทียมที่ข้างลำต้นใกล้ยอดกระจุกหนึ่ง แต่มีช่อดอกปลายลำต้นอีกหนึ่งช่อ เพื่อศึกษาคุณสมบัติของสารสกัด พบว่า สารสกัดทุกชนิดมีค่าความเป็นกรดเท่ากับ 6 แสดงว่า สารมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน เพื่อศึกษาชนิดของสารสกัดที่ทำให้ค่าความเหนียวของเส้นกระจูดมากที่สุด คือ หมากอินเดีย รองลงมาเป็นเปลือกไม้มะม่วงหิมพานต์ โคลนขาว และย่านาง ซึ่งมีค่ามากกว่า ไม่แช่และน้ำ เพื่อศึกษาความเข้มข้นในการแช่สารสกัดจากพืชที่ทำให้เส้นกระจูดมีความเหนียวเพิ่มขึ้น พบว่า ความเข้มข้นของสารสกัดทุกชนิดเมื่อมีปริมาณมากที่จะทำให้เส้นกระจูดมีความเหนียวเพิ่มขึ้น เพื่อศึกษาระยะเวลาในการแช่สารสกัดจากพืชที่ทำให้เส้นกระจูดมีความเหนียว เมื่อใช้เวลามากขึ้นความเหนียวจะเพิ่มขึ้น เพื่อศึกษาความเหนียวของเส้นกระจูดแต่ละบริเวณ พบว่า ส่วนกลางมีค่ามากที่สุด รองลงมาเป็นปลายและโคลน เพื่อศึกษาสีย้อมที่มีต่อความเหนียวของเส้นกระจูด เพื่อศึกษาการติดสีย้อมจากพืชของเส้นกระจูด เพื่อศึกษาชนิดของสารสกัดจากพืชที่ป้องกันการเกิดเชื้อราของเส้นกระจูดเป็นเวลา 1 สัปดาห์