โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องลูกน้ำยุงลายตายด้วยปูนแดง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิวาพร ปินตา
สมศรี แซ่ลี
เฟื่องฟ้า แหวนเพ็ชร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นุสรา ตาคำ
อิทธิฤทธิ์ เทพธานี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย ประเภทวิทย์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปูนแดงสารสกัด
ลูกน้ำกำจัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกมาสู่คน แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายมักพบในบ้านเรือน ตามวงจรชีวิตของยุงลายพบว่าการกำจัดยุงลายที่เหมาะสมคือกำจัดลูกน้ำยุงลาย จึงได้ศึกษาถึงวิธีการที่เหมาะสมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย คือ ปูนแดง ดินลูกรัง ดินเหนียว นำมาเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีคือ ทรายอะเบท โดยใช้สารคือ 3 กรัม ปั้นเป็นก้อนกลมโดยทำเป็น 2 ชนิด ตากแดดให้แห้งและไม่ตากแดด ห่อด้วยผ้าขาวบาง หย่อนลงไปในน้ำที่มีลูกน้ำยุงลาย 10 ตัว ในน้ำและมีสิ่งมีชีวิตอื่นคือ ปลาหางนกยูงอาศัยอยู่ด้วย จากการศึกษาพบว่า ปูนแดงตากแดดแห้งกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ตายทุกตัวในเวลา 70.00 นาที ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้ทรายอะเบททีใช้เวลาในการกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ ตายครบในเวลา 73.60 นาที ส่วนดินลูกรัง ดินเหนียว ไม่สามารถนำไปกำจัดลูกน้ำยุงลายได้จึงได้ทำการศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของปูนแดงตากแห้ง 5 g , 7 g และ 9 g ใส่ลงไปในน้ำ ปริมาณ 250 cm3 ที่มีลูกน้ำยุงลายจำนวน 10 ตัว จากการศึกษาพบว่า ปูนแดงตากแห้ง 5 กรัม ปั้นเป็นก้อนกลม ห่อด้วยผ้าขาวบาง ทำให้พฤติกรรมของลูกน้ำยุงลายเคลื่อนไหวช้าลงและตายครบทุกตัวภายในเวลา 70.00 นาที และทำให้ปลายางนกยูง ขนาดเล็กยังมีชีวิตอยู่ทุกตัว และเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ทรายอะเบทใช้เลาในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่น้อยกว่าการตายของลูกน้ำยุงลายตายทุกตัว แต่ทำให้ปลายางนกยูงมีร้อยละการตายเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของทรายอะเบทเพิ่มขึ้น ดังนั้นการใช้ปูนแดงที่ตากแห้งจึงเป็นแนวทางการใช้สารมากำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถป้องการการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อีกด้วย