โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำภาชนะจากใบพืชบางชนิดที่รักษาสภาพความเขียวแทนภาชนะโฟม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธนพงศ์ ทัศนเมธิน

  • พิรณัฐ วิรุณหะ

  • วรุตม์ หลูไพบูลย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชวลิต ฟูตระกูล

  • ปนัดดา ฉายโอภาส

  • สุปรีดา จุฬาวัฒนทล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีวิทยา 2

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคกลาง

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2544 12(36) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ภาชนะ การทำ

  • สิ่งประดิษฐ์

  • ใบพืช

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาหาความเข้มข้มของสารละลาย NaHCO3 ที่เหมาะสมในการรักษาสภาพความเขียวของใบพืชที่ใช้ศึกษา 2.เพื่อศึกษาระดับความร้อนที่ใช้อบให้เป็นภาชนะใบพืชที่แห้งและคงความเขียวของใบพืชที่ใช้ศึกษา 3.เพื่อศึกษาหาวิธีการนำใบพืชที่แห้งแล้วยังมีสภาพความเขียวผนึกติดกับเยื่อกระดาษชนิดใยยาวและนำมาทำภาชนะใส่อาหาร ผลการทดลองพบว่าสารละลาย NaHCO3 ที่มีความเข้มข้น 0.015 mol/dm3 รักษาสภาพความเขียวได้ดีที่สุด และเมื่อใช้แบะแซเป็นตัวประสานในการผนึกใบพืช 2 ใบซ้อนกันแล้วนำไปรีดเป็นเวลา 40 วินาที ใบพืชอ่อนตัวนำไปจัดในแบบพิมพ์ได้ง่าย จากนั้นนำไปอบด้วยไมโครเวฟที่ระดับความร้อนสูงสุด 100 % เวลาที่ใช้อบขึ้นกับขนาดภาชนะที่ใช้พิมพ์และชนิดของใบพืช (ใบบัว ใบสัก และใบตองตึง) ซึ่งแต่ละชนิดใช้เวลาอบแตกต่างกัน สำหรับการศึกษาวิธีการนำใบพืชที่รักษาความเขียวไว้ได้นำมาผนึกกับเยื่อกระดาษใยยาว พบว่าใบสักติดกับเยื่อกระดาษดีที่สุด ผิวหน้าเรียบ มีความแข็งตัวดี ส่วนใบตองตึงติดแน่นบาง ส่วนผิวหน้าเรียบแต่แข็งตัวดี ใบบัวไม่ดี และได้นำผลการทดลองที่ได้ไปทำเป็นภาชนะขนาด 370 cm3 ใช้เวลารีด 30 วินาที อบด้วยระดับความร้อนสูงสุด 100 % ของเตาไมโครเวฟเป็นเวลา 1.40 นาทีพบว่าภาชนะใบสักผนึกด้วยเยื่อกระดาษใยยาวมีความเขียวและคงรูปได้ดีที่สุด