โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการใช้สารสีสกัดจากผลเถาคันตรวจแอมโมเนียในน้ำ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาสารสีสกัดจากผลเถาคันเหมาะสำหรับตรวจแอมโมเนียในน้ำมากกว่าหว้าและผักปลัง ศึกษาชนิดพืชและอัตราส่วนการสกัด พบว่า เมื่อหยดสารสีสกัด 0.09 มล. ผสมน้ำกลั่น 3 มล. จะได้สารละลายสีชมพู มีค่าแสงสว่างเฉลี่ย 862.67, 961.33 และ 982.67 ลักซ์ตามลำดับ เมื่อหยดผสมแอมโมเนีย 3 มล. จะเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นเขียว มีค่าแสงสว่างเฉลี่ย คือ 742.33, 884.67 และ 896.33 ลักซ์ตามลำดับ ความเข้มข้นของแอมโมเนียที่ทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสี พบว่า สารสีสกัดผลเถาคันมีความเข้มข้นน้อยที่สุด คือ 0.02 % เปลี่ยนจากสีชมพูเป็นเขียวมีค่าแสงสว่างต่างกันชัดเจน เทียบกับการเก็บสารสกัดสีลักษณะต่างๆ พบว่า การเก็บสารสีมีผลต่อการทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสี หากเก็บสารสกัดสีเถาคันสุกในลักษณะเป็นเมล็ดสาคูยังคงสภาพหลังการเก็บเป็นเวลา 30 วัน เมื่อทดสอบกับแอมโมเนียจะเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นเขียว ถ้าเก็บในลักษณะกระดาษและน้ำ สีมีการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จุฑารัตน์ พรประเสริฐ

  • ฉัตรสุดา คงเพ็ง

  • วริศรา ธรรมธร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปิ่น ช่างทอง

  • เพ็ญประภา หร่ายเจริญ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดัดดรุณี

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่2 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออก

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • พืช

  • แอมโมเนีย

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์