โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระดาษลิตมัสวัดค่า pH จากผลไม้พื้นบ้าน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศึกษาการทำกระดาษลิตมัสจากผลไม้พื้นบ้านโดยทำการทดลองตอนที่ 1 ศึกษาการสกัดสีจากตะขบตาควายและลูกหว้า โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย แล้วนำสีที่ได้มาทำการทดลองตอนที่ 2 ศึกษาการย้อมกระดาษ โดยใช้กระดาษ 4 ชนิด คือ กระดาษ A4 กระดาษวาดเขียน กระดาษ100 แกรม และ กระดาษกรอง และการทดลองตอนที่ 3 ทดสอบกระดาษลิตมัสที่ทำขึ้นเองกับสารตัวอย่าง จากผลการทดลองพบว่าเปลือกของตะขบตาควายให้สีที่เข้มกว่าลูกหว้า และกระดาษที่สามารถทำกระดาษลิตมัสได้คือ กระดาษวาดเขียนและกระดาษกรองซึ่งมีประสิทธิภาพในการดูดซับได้ดีและเมื่อนำมาทดสอบกับสารตัวอย่างพบว่า สารตัวอย่างที่ทำให้กระดาษลิตมัสเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีชมพูแกมแดง คือ น้ำส้มสายชู น้ำยาขัดห้องน้ำ และน้ำมะนาว ส่วนสารตัวอย่างที่ทำให้กระดาษลิตมัสเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินและสีม่วงแกมน้ำเงิน คือ ผงซักฟอก น้ำขี้เถ้า และสบู่ ซึ่งให้ผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับกระดาษลิตมัสของ Whatman
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กฤษฎา เหมบุรุษ
ชวัลณัฐ บุญภักดี
สุรทิน วังนวล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นงนุช กันแย้ม
บุญสิน ใสยอด
ประดัด ชมมี
วรารัตน์ เกษประสิทธิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคเหนือตอนล่าง
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษลิตมัส
ผลไม้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์