โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถ่านดูดซับก๊าซ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ดนัย อุ่มชัย
เจษฎา ศาลาทอง
โดม รุ่งพิบูลโสภิษฐ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาณุวัฒน์ ตันติเสรีรัตน์
วุฒิคุณ กรรำ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคตะวันออก
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2539 7(20) p87
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กิจกรรมของมนุษย์หลายอย่างเช่น การเผาถ่าน เผาขยะ เผาน้ำมัน การปล่อยไอเสียจากรถยนต์ ล้วนแต่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยทำให้อากาศสกปรกไปด้วยสารเคมี สารพิษ ฝุ่น เขม่า ควันไฟ หรือเกิดก๊าซต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต คณะผู้ทำโครงงานจึงพยายามหาแนวทางเอาวัสดุที่มีอยู่ทั่วไปหรือเหลือใช้ มาแก้ปัญหามลพิษอากาศด้วยวิธีง่ายๆ ต้นทุนต่ำ จากการศึกษาพบว่าถ่านมีคุณสมบัติในการดูดสี ดูดกลิ่น จึงได้นำถ่านมาทดลองดูดซับก๊าซ โดยใช้ถ่านที่ผลิตจาก กะลามะพร้าว ไม้ไผ่ ซังข้าวโพด ไม้กระถินณรงค์ เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นจำนวน 1,000 กรัม นำไปเผาเป็นถ่านพบว่าถ่านจากกะลามะพร้าวและไม้กระถินณรงค์ ได้ถ่านจำนวน 110 กรัม ส่วนไม้ไผ่ได้ 400 กรัม และซังข้าวโพดได้ 350 กรัม ทดสอบการดูดซับก๊าซเป็น 2 ลักษณะ คือถ่านแห้ง และถ่านชนิดที่เปียกชื้น เมื่อนำมาทดสอบคุณสมบัติกับก๊าซ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) โดยนำผงถ่านชนิดต่าง ๆ มาบรรจุในหลอดทดลองขนาดใหญ่ ที่มีปลายเปิดทั้ง 2 ด้าน แล้วผ่านก๊าซที่ต้องการทดสอบลงไป แล้วนำก๊าซที่ได้มาทดสอบคุณสมบัติกับสารละลายด่างทับทิม 0.1 เปอร์เซ็นต์ พบว่าถ่านกะลามะพร้าวชื้นสามารถดูดซับก๊าซได้ดีที่สุด โดยใช้เวลาในการเปลี่ยนสีของสารละลายด่างทับทิมนานที่สุดคือ 30 วินาที ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ผงถ่านทุกชนิดให้คุณสมบัติในการดูดซับได้ไม่แตกต่างกัน และเมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับเกษตรกร โดยบรรจุผงถ่านในลักษณะที่เป็นถุงปิดไว้กับหน้ากากที่มีขายตามท้องตลาด นำไปให้เกษตรกรทดลองใช้ในขณะฉีดพ่นยาฆ่าแมลง เกษตรกรให้ความพอใจ 100 เปอร์เซ็นต์