โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการวิเคราะห์ปริมาณไนเตรตในผักบางชนิด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มยุรัชฎ์ สามี
อุ้มจิต ศรีบุญเรือง
เฉลิมขวัญ นนทะโคตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2539 7(19) p76
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผัก
สารพิษ
ไนเตรต
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบปริมาณไนเตรตในผักต่างชนิดกัน โดยสร้างกราฟมาตรฐานไนเตรต และนำผักสดที่ปั่นแล้วมาสกัดคลอโรฟิลล์โดยใช้เอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อแอลกอฮอล์ระเหยหมด เติมน้ำกลั่นแล้วกรองด้วยกระดาษกรอง เติมกรดซัลฟิวริกและสารละลายบรูซีน-ซัลฟานิริกเขย่า แล้วสีของสารละลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปิเปตสารละลายที่ได้ นำไปตรวจสอบค่าความสามารถในการดูดกลืนแสงโดยใช้เครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ บันทึกผล นำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานที่ได้ในขั้นต้น จากการทดลองพบว่า ปริมาณไนเตรตที่สะสมในผักแต่ละชนิดเรียงจากมากไปน้อยดังนี้ กะหล่ำปลี 10.50 ไมโครกรัม/ต่อลิตร ผักคะน้า 9.50 ไมโครกรัม/ลิตร ผักกาดขาว 8.20 ไมโครกรัม/ลิตร ผักกาดหอม 7.55 ไมโครกรัม/ลิตร ผักกาดเขียวกวางตุ้ง 5.50 ไมโครกรัม/ลิตร ขึ้นฉ่าย 4.20 ไมโครกรัม/ลิตร กะเพรา 1.75 ไมโครกรัม/ลิตร ตำลึง 1.65 ไมโครกรัม/ลิตร ผักบุ้งจีน 0.60 ไมโครกรัม/ลิตร หอม 0.10 ไมโครกรัม/ลิตร จะเห็นได้ว่าผักแต่ละชนิดมีปริมาณไนเตรตสะสมไม่เท่ากัน เพื่อสุขภาพผู้บริโภคควรเลือกหลีกเลี่ยงการบริโภคผักที่มีปริมาณไนเตรตสะสมมาก ๆ