โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระดาษรักษ์สิ่งแวดล้อม
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องกระดาษรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีผลิตกระดาษจากเยื่อผสมระหว่างต้นธูปฤาษีกับเยื่อกระดาษจากกล่องนม UHT โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากวัชพืชประเภทต้นธูปฤาษีและขยะประเภทกล่องนม UHT ได้แบ่งการทดลอง 4 ขั้นตอน คือ 1. เปรียบเทียบความเหนียวของเยื่อกระดาษจากกาบใบธูปฤาษี ก้านกล้วย และก้านผักตบชวา โดยนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ชนิดละ 80 g ต้มในน้ำ 110 cm3 กับโซเดียมไฮดรอกไซด์ 30 g เวลา 30 นาที นำเส้นใยที่ได้ไปทำกระดาษแล้วมาทดสอบความเหนียว พบว่า เยื่อกระดาษจากกาบใบธูปฤาษีมีความเหนียวมากที่สุด 2. เปรียบเทียบความเหนียวของเยื่อกระดาษจากส่วนต่างๆ ของต้นธูปฤาษี คือ ส่วนกาบใบ แผ่นใบ และก้านดอก พบว่า เยื่อกระดาษที่ได้จากกาบใบมีความเหนียวมากที่สุด 3. หาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเยื่อกระดาษระหว่างกาบใบของธูปฤาษีกับเยื่อกระดาษจากกล่องนม UHT มีอัตราส่วน 1:1,2:1 และ3:1 พบว่าเยื่อกระดาษผสมอัตราส่วน 2:1 เหมาะสมที่สุดในการทำเยื่อกระดาษผสม 4. การปรับปรุงคุณภาพเยื่อกระดาษผสม โดยการฟอกสีด้วยน้ำยาไฮเตอร์จะได้เยื่อกระดาษขาวกว่าไม่ฟอกสีและเมื่อนำมาย้อมสีด้วยสีย้อมผ้าที่อุณหภูมิปกติกับการต้ม พบว่าการย้อมสีโดยการต้มเยื่อกระดาษจะติดสีได้ดีกว่า และสวยงาม การเพิ่มปริมาณของเยื่อกระดาษจาก 5,10 และ15 g เมื่อนำมาทำแผ่นกระดาษพบว่าเมื่อเพิ่มเยื่อกระดาษจะได้กระดาษที่มีความหนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุลีพร วิเสโส
อัจฉรา เดชะศิริพงษ์
เบญจมาศ กรส่งแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทองอาบ ธีรานนท์
ประดับ นาคแก้ว
เจริญ อิ่มพันธ์แบน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ทั่วไป ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(28) p55
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระดาษ
กล่องนม
ต้นกล้วย
ธูปฤาษี
ผักตบชวา
รีไซเคิล
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์