การออกแบบ สร้าง และทดสอบหน่วยสกัดชาต้นแบบ = Design and performance testing of pilot scale tea extraction unit

ผู้เขียน

พลกฤต วงศ์ธนะบูรณ์

เอกสารที่มา

วิทยานิพนธ์. (2550) 159 หน้า

หัวข้อ:

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่สารสกัดจากใบชา ซึ่งเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระมี มากขึ้น ในระหว่างกระบวนการสกัดชาพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนหนึ่งเสื่อมสลายไป เนื่องจากการเกิดตะกอนขึ้นในน้ำชาสกัด ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของโมเลกุลของคาเฟอีนและแทนนิน จึงไม่สามารถสกัดน้ำชาให้มีปริมาณสารออกฤทธิ์ตามที่ต้องการได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบ สร้างและทดสอบหน่วยสกัดชาต้นแบบที่สามารถสกัดน้ำชาสกัดได้ครั้งละ 20 ลิตร หน่วย สกัดชามีส่วนประกอบหลักคือ 1) ถังสกัด 2) ถังอุ่นน้ำ 3) ปั๊มและมอเตอร์ 4) ฮีทเตอร์ไฟฟ้า และ5) อินเวอร์เตอร์ การทดสอบหาสภาวะการสกัดของหน่วยสกัดชา ได้ทำการศึกษาปัจจัยต่างๆ ดังนี้ อุณหภูมิ (60 , 70, 80°C) ค่า pH (4, 5, 6, 7) อัตราการไหลของน้ำ (0.14, 0.22, 0.29 เมตร3ต่อชั่วโมง) สารออกฤทธิ์ที่สนใจศึกษา ได้แก่ โพลีฟีนอล แทนนินและคาเฟอีน จากผลการทดลองพบว่าการเพิ่ม อุณหภูมิการสกัด และการลดค่า pH ของสารละลาย ทำให้ปริมาณโพลีฟีนอลที่สกัดได้เพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่การเพิ่มอัตราการไหลของน้ำ ไม่ทำให้ปริมาณโพลีฟี นอลที่สกัดได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) สภาวะการสกัดที่ให้ปริมาณโพลีฟีนอล มากที่สุด (6.984±1.158 % (ฐานแห้ง)) คือ อุณหภูมิ 80°C อัตรการไหลของน้ำ 0.29 เมตร3ต่อชั่วโมง และค่า pH เท่ากับ 4