๙.๑ บทสรุป
ผู้เขียนอธิบายความหมายและวิเคราะห์ลักษณะร่วมระหว่าง "ความยากจน (Poverty)" และ "ความเปราะบางต่อความยากจน (Vulnerability)" และผลของวิกฤตเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ ที่ส่งผลให้จำนวนคนจนและคนที่มีความเสี่ยงต่อความยากจนเพิ่มสูงขึ้น
ผู้เขียนเน้นว่า ยุทธศาสตร์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเปราะบางทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้นจำเป็นต้องแก้ไขคุณลักษณะที่สำคัญ ๒ ประการ ซึ่งได้แก่ (๑) ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเปราะบาง และ (๒) การด้อยความสามารถในการตอบสนองต่อสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด (Adverse shocks) และในปัจจุบันนี้รัฐบาลได้พัฒนานโยบายหลายด้านขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง อันจะนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันต่อปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ต่อไป อย่างไรก็ตาม มูลเหตุของปัญหาความยากจนและความเปราะบางต่อความยากจนนั้นมีหลายมิติ และด้วยเหตุนี้กลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีความหลากหลายด้วย เช่นกัน ทั้งนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปเชิงโครงสร้างด้านอื่น ๆ อาทิ การปฏิรูปเชิงกฎหมายไปพร้อม ๆ กับวรรณกรรมปริทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ ซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าว