๓.๓ ข้อสังเกตและความเห็นของผู้สรุป

สิ่งซึ่งดูเหมือนจะเป็นหัวข้อที่เด่นในเอกสารชุดนี้คือคำถามที่ว่า "สัดส่วนที่เหมาะสมของการผลิตในแต่ละสาขาควรเป็นเท่าไรในแต่ละช่วงเวลา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนในด้านประสิทธิภาพและการลงทุนสูงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในอนาคต"

จะเห็นว่า ผู้เขียนมุ่งเน้นที่ระดับความเหมาะสมที่สุด (Optimal Level) แต่คำถามที่น่าสนใจคือว่า ความเหมาะสมนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับความพอเพียง ในภาพรวมแล้ว การมุ่งเน้นที่จุดสูงสุด (Maximisation) ในขณะที่ยังมีความยั่งยืนและเชื่อมโยงในแต่ละภาคของเศรษฐกิจจะเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเหมาะสมแต่ไม่พอเพียงจะเกิดประโยชน์อะไร

ฉะนั้นควรศึกษาตัวเราเองก่อนว่า อะไรเป็นจุดแข็งแกร่งของเราในช่วงเวลานั้น ๆ ทั้งนี้ ควรพิจารณาถึงภูมิปัญญาไทย (รอบรู้) เน้นการออมและการลงทุนที่ฉลาด (ระมัดระวัง) และมีการผลิตที่หลากหลายและลดความเสี่ยงจากตลาดภายนอก (ภูมิคุ้มกันที่ดี) ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินไปได้ต้องมีทางสายกลางในความคิดและการกระทำเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญด้วยเช่นกัน ๘๔ วรรณกรรมปริทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง